ด้วยความเป็นจริงที่ว่า หากเราใช้ยานพาหนะที่มีเครื่องยนต์เป็นใบพัด เพื่อดำดิ่งสู่ท้องทะเล สิ่งที่ตามมาก็ คือ เสียงดังของเคลื่อนยนต์ คลื่นน้ำวนจากใบพัด และความคมของใบพัดที่อาจจะไปรบกวน หรือทำลายสัตว์ทะเลต่างๆ
วิศวกรชาวสวิตเซอร์แลนด์ จากสถาบัน Swiss Federal Institute of Technology แห่งเมืองซูริค จึงได้สร้างหุ่นยนต์ปลาต้นแบบที่มีชื่อว่า Sepios ขึ้นมา เพื่อทดสอบการเคลื่อนที่ใต้น้ำแบบใหม่ โดยใช้ครีบเสมือนปลาจริงๆ
ซึ่งหุ่นยนต์ต้นแบบ ประกอบไปด้วย ครีบความยาวประมาณ 70 เชนติเมตร จำนวน 4 ครีบ แต่ละครีบประกอบไปด้วย แท่งควบคุมทิศทางการเคลื่อนที่ทั้งหมด 9 แท่ง ซึ่งถูกควบคุมโดย 3D Connexion space mouse และการเคลื่อนที่ด้วยครีบนี้เอง ที่ทำให้หุ่นยนต์สามารถเคลื่อนที่ไปในน้ำได้ทุกทิศทาง ในลักษณะเดียวกับปลาจริงๆ อีกทั้งยังไม่รบกวนสัตว์ทะเลต่างๆ อีกด้วย เพราะไม่ต้องคอยกังวัลเรื่องเสียง คลื่นน้ำ หรือความคมของใบพัด อีกต่อไป
ปัจจุบันหุ่นยนต์ Sepios ถูกติดตั้งแบตเตอรี่ขนาด 20,000 มิลลิแอมป์ชั่วโมง ซึ่งช่วยให้สามารถเดินทางใต้น้ำได้นานถึง 90 นาที ด้วยความเร็วสูงสุดที่ 1.8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ความลึกสูงสุดเพียง 10 เมตร ซึ่งยังไม่ตอบสนองเป้าหมายของคณะวิจัย ที่ต้องการนำหุ่นยนต์นี้มาใช้ทดแทนยานพาหนะดำน้ำประเภทใบพัดในอนาคต
ที่มา - Geek