สาเหตุที่ทำให้ อัล กอร์ และ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิกากาศ หรือ ไอพีซีซี ได้รับรางวัลโนเบลในสาขาสันติภาพในปีนี้ ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะการที่ออกมาชี้ใช้ชาวโลกเห็นถึงความสำคัญของภาวะที่โลกร้อนในปัจจุบัน ซึ่งปัจจัยที่ อัล กอร์ สามารถสรุปได้ว่าโลกของเราร้อนขึ้น ก็เนื่องมาจากการเก็บข้อมูลและแบบจำลองสภาพภูมิกาอาศที่สามารถทำนายการเกิดภาวะโลกร้อนได้
แต่งานวิจัยล่าสุดจากมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย (Virginia University) ร่วมมือกับ UHA ได้ทำการเปรียบเทียบความถูกต้องของแบบจำลองสภาพภูมิอากาศ จำนวน 22 แบบจำลอง และรวมถึงแบบจำลองที่ อัล กอร์ ใช้ในการทำนายสภาวะโลกร้อนด้วย พบว่าในแบบจำลองทั้งหลายเหล่านั้น ยังมีความน่าเคลือบแคลงในด้านความถูกต้องแม่นยำในการทำนายอยู่พอสมควร
นักวิจัยได้ใช้การทำนายแนวโน้มของอุณหภูมิบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์ (Troposphere) และ แนวโน้มของอุณหภูมิในชั้นพื้นผิว ซึ่งแบบจำลองต่างๆ ต่างทำนายว่า อุณหภูมิในชั้นโทรโพสเฟียร์มีแนวโน้มที่จะสูงกว่า ซึ่งเมื่อนักวิจัยไปดูข้อมูลที่ได้จากการเก็บข้อมูลของอุปกรณ์ต่างๆ พบว่า ไม่มีแนวโน้มที่จะเกิดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิชั้นโทรโพสเฟียร์แต่อย่างไร โดยที่อุณหภูมิในชั้นนี้ มีแนวโน้มที่จะต่ำกว่าหรือเท่ากับอุณหภูมิชั้นพื้นผิวซะด้วยซ้ำ
ถึงอย่างไรก็ตาม งานวิจัยชิ้นนี้ให้ผลที่แตกต่างจากการศึกษาก่อนหน้าอย่างสิ้นเชิง ซึ่งในการศึกษาก่อนหน้านี้ ต่างระบุว่า ความแตกต่างของผลลัพธ์ระหว่างแบบจำลองต่างๆ เกิดจากความผิดพลาดของข้อมูลที่ใช้ป้อนเข้าไป ไม่ใช่ข้อผิดพลาดของแบบจำลอง
สงสัยงานนี้ต้องดูกันยาวๆ ซะแล้ว
ที่มา - EurekAlert