รีวิว BOOX C67 เครื่องอ่านอีบุ๊คจอ E Ink ที่ใช้งาน Android 4.2.2 และรองรับภาษาไทยได้ดีที่สุดในขณะนี้

by advertorial
10 February 2015 - 05:37

หากคุณกำลังมองหา E-reader ที่มีความสามารถในการติดตั้งแอพพลิเคชั่นเพิ่มเติมโดยที่ไม่ต้องรูทเครื่อง ซึ่งการติดตั้งแอพพลิเคชั่นนั้นจะทำให้คุณสามารถเพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานของ E-reader ได้มากกว่าเดิม เช่น

  • สามารถอ่านหนังสือหรือซื้อหนังสือจากร้าน E-Book ชั้นนำ เช่น Amazon Kindle , Google Play Book หรือ Kobo ได้
  • อ่านนิยายจาก แอพ Dek-D
  • สามารถดาวน์โหลดไฟล์หนังสือจากผู้ให้บริการ Cloud เช่น Dropbox หรือ Google Drive
  • สามารถอ่านข่าวต่างๆ จากแอพพลิเคชั่น Blognone
  • สามารถติดตั้ง E-book Reader ชื่อดังสำหรับการอ่านไฟล์แบบอื่นๆ เช่น Moon Reader, Adobe Reader, Google Play, Newsstand, ComiXology, Aldiko, Cool Reader

โดยคุณสามารถใช้งานแบบถนอมสายตากับหน้าจอแสดงผล E-ink ซึ่งสามารถอ่านต่อเนื่องได้เป็นระยะเวลานานๆ Boox C67 จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในขณะนี้ อีกทั้งยังรองรับภาษาไทยในระดับที่ดีมากๆ และยังเป็น E-reader ที่สามารถใช้งาน Keyboard ภาษาไทย ซึ่ง Kindle, Kobo, Nook หรือ Sony จะไม่สามารถใช้งานได้


Boox C67 เป็น E-reader รุ่นล่าสุดในขนาดหน้าจอ 6 นิ้ว โดยมีผู้ผลิตจากประเทศจีนชื่อ “Onyx International Inc” ซึ่งทำตลาด E-reader ในชื่อ “Boox” มาตั้งแต่ปี 2008 และได้ส่ง E-reader ในหลายๆ ขนาดเข้ามาทำตลาด เช่น

  • หน้าจอ 6 นิ้ว : C67, I62HD
  • หน้าจอ 6.8 นิ้ว : T68
  • หน้าจอ 9.7 นิ้ว : M69

Boox เป็นที่รู้จักกันดีในทวีปยุโรป โดยจะได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศ สเปน, รัสเซีย และโปแลนด์ นอกจากนี้ Boox ยังได้รับรางวัล Best Electronic Reader of Poland อีกด้วย โดยเฉพาะรุ่น Boox C63ML ซึ่งเป็นรุ่นก่อนหน้าของ C67ML ที่ได้รับรางวัล Product of The Year 2014 ประเภท E-reader จากประเทศรัสเซีย
ที่มา : http://www.productgoda.ru/pg/archive/index.php

Boox C67 เป็น E-reader ที่เป็นหน้าจอ E Ink® Pearl HD ขนาด 6 นิ้ว ความละเอียดของหน้าจออยู่ที่ 1024×758 pixel มาพร้อมกับไฟ Front Light สำหรับอ่านเวลากลางคืนหรือในที่แสงสว่างน้อย สามารถปรับระดับความสว่างได้ ใช้ระบบปฎิบัติการ Android 4.2.2 โดยใช้ UI ของทาง Onyx ครอบไว้อีกที

ไฟ Front Light สำหรับอ่านเวลากลางคืนหรือในที่แสงสว่างน้อย

ไฟ Front Light ไม่ได้ฉายเข้าหน้าตรงๆ ทำให้รู้สึกสบายตาเวลาอ่านในที่แสงสว่างน้อยหรือที่มืด

CPU แบบ Dual Core ช่วยให้ประหยัดพลังงานมากยิ้งขึ้น

ตัวเครื่องจะใช้วัสสุผสมยางกึ่งด้าน ความกว้างขนาดกำลังพอดีสำหรับการจับด้วยมือเดียว มีขนาดใกล้เคียงกับ Kindle Paperwhite ด้านบนเครื่องจะมีปุ่ม Power ส่วนด้านข้างจะเป็นปุ่มสำหรับเปลี่ยนหน้า และด้านล่างจะมีที่เสียบสายหูฟัง ช่องใส่ Micro SD และ พอร์ต Micro USB

สเปคของเครื่องคร่าวๆ มีดังนี้

System

  • CPU : Rockchip 3026 (Dual cortex A9,1.2G)
  • RAM Memory : DDR3 512MB
  • Operating System : Android 4.2.2

Display

  • Display Type : 6′ inch high definition screen with front light
  • Grey level : 16 scale
  • Touch : capacitive touch
  • Resolution : 1024*758

Memory

  • Built in Storage : 4GB
  • External Storage : up to 32GB SDHC

Physical Properties

  • Dimension : 170.2×117.3×8.7mm
  • Weight : 185g

Other

  • WiFi
  • PDF support : Adobe (w/DRM) *.PDF(V9.1)
  • File support : TXT/ HTML/ EPUB/ CHM/ PDB/ MOBIPOCKT/ FB2/ DJVU
  • Audio support : MP3/ WAV

หากดูเสปคแล้วค่อนข้างโอเคเลยทีเดียว แถมยังเป็น E-reader ที่ยังมีฟังก์ชั่น Audio สำหรับฟังเพลงหรือ Text to Speech ซึ่งใน Kindle หรือ Kobo รุ่นใหม่ๆ ได้ตัดฟังก็ชั่น Audio นี้ออกไปแล้ว และยังมีปุ่มเปลี่ยนหน้าอยู่ด้านข้างตัวเครื่องซึ่งเพิ่มความสะดวกในการอ่านยิ่งขึ้น

การเปิดเครื่องใช้เวลาประมาณ 40 วินาที จากนั้นจะเข้าสู่หน้าหลักของเครื่อง

ปุ่มที่ด้านล่างของเครื่องทำหน้าที่เหมือนกับปุ่ม “Back” หากกดค้างไว้จะเป็นการ เปิด/ปิด ไฟ

ไฟ Front Light สามารถปรับระดับความสว่างได้

เมนู Library จะรวมไฟล์หนังสือที่เครื่องรองรับ เช่น PDF, EPUB, HTML, TXT

หากเปลี่ยนโหมดการแสดงผล จะแสดงความคืบหน้าในการอ่านหนังสือแต่ละเรื่อง

ทดลองเปิดไฟล์ ePub โดยการกดเลือกหนังสือที่ต้องการ

สำหรับไฟล์ ePub ภาษาไทย จะต้องทำการฝังฟอนต์ (Embedded Font) ก่อน จึงจะสามารถแสดงผลได้

เมนูและฟังก์ชั่นมีครบตามมาตรฐานของ ePub reader ทั่วไป แถมยังมีฟังก์ชั่นการทำตัวหนาสำหรับนักอ่านบางคนที่อยากให้ตัวหนังสือชัดขึ้น

เลือกความหนาของตัวอักษรได้หลายระดับ

เมนู TOC สำหรับดูสารบัญของหนังสือ

หากกดค้างไว้ที่คำก็จะขึ้นเมนูสำหรับ copy, highlight หรือคำแปลจาก Dictionary ของเครื่อง (Dictionary ภาษาไทยใช้ฐานข้อมูลของ Lexitron)

เรายังสามารถปรับ Refresh ในการกระพริบของหน้าจอได้หลายแบบ

เนื่องจากตัวเครื่องมี Keyboard ภาษาไทย ทำให้เราสามารถค้นหาคำในหนังสือนั้นๆ ได้ (รองรับเฉพาะ ePub หรือ PDF ที่สร้างจากโปรแกรม Indesign CS4 ขึ้นไป)

เครื่องจะ highlight คำที่ค้นพบ

สำหรับการอ่านไฟล์ PDF ก็มีฟังก์ชั่นในการอ่านหลากหลาย ทั้ง PDF Reflow, Auto/ Manual Crop หรือ โหมดการอ่านเอกสารแบบต่างๆเหมือนกับ Sony PRS-T3 หากคุณเคยมีความประทับใจในการอ่าน PDF ของ Sony T2/T3 มาแล้ว Boox C67 ทำได้สูสี จะแพ้อยู่ที่การ Zoom หรือ Pan เอกสาร PDF ทำได้ไม่ลื่นไหลนัก แต่ Boox C67 จะมีโหมดในการอ่านที่หลากหลายมากกว่า

การทำ PDF reflow สามารถแสดงผลได้รวดเร็วกว่า Sony PRS-T3

เราสามารถเลือกโหมดการอ่านให้เหมาะสมกับรูปแบบไฟล์ PDF ของเราจากเมนู Navigation

เมื่อเลือกรูปแบบเอกสารแล้วก็ทำการ zoom เข้า เพื่อขยายให้อ่านง่ายขึ้น

เมื่อแตะที่ขอบหน้าจอ เอกสารจะเลื่อนลงมาในคอลัมภ์แรก จากนั้นเมื่อแตะอีกครั้งจะเลื่อนขึ้นไปที่คอลัมภ์ที่สองอัตโนมัติ แต่ถ้ากดปุ่มเปลี่ยนหน้าเครื่องจะเปลี่ยนหน้าถัดไปเลย

โหมด Auto Crop จะทำการตัดขอบขาวของเอกสารออก ซึ่งจะทำให้ตัวหนังสือใหญ่ขึ้น

หลังเปิดโหมด Auto crop

ตัวเครื่องสามารถติดตั้งแอพพลิเคชั่นเพิ่มเติมได้ทางไฟล์ apk หรือผ่านทาง Play Store (จะต้องอัพเดท Firmware ล่าสุดก่อน) โดยที่ไม่ต้องทำการรูทเครื่อง สำหรับเนื้อที่ในการลงแอพพลิเคชั่นจะมีให้ประมาณ 500 MB และสามารถย้ายแอพพลิเคชั่นไปติดตั้งที่ SD card ได้

ถ้ามีบัญชี Gmail อยู่แล้ว ก็ทำการ Sign In แล้วก็ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นที่ต้องการได้เลย

ชอบใจ Reader ตัวไหนก็ติดตั้งเพิ่มได้เลย

ติดตั้งแอพพลิเคชั่นสำหรับอ่านข่าวสารทางไอทีก็ได้

สำหรับใครที่ชอบซื้อ E-book ของ Amazon Kindle ก็สามารถนำมาอ่านกับ Boox C67 ผ่านแอพพลิเคชั่น Kindle ได้เลยด้วย แต่จะสู้การอ่านจากเครื่อง Kindle จริงๆ ไม่ได้ เนื่องจาก UI ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับเครื่อง E-reader โดยตรงครับ

ฟังก์ชั่นการอ่านก็มาครบครับ

ทดลองเปิด E-book ที่เคยซื้อไว้กับ Amazon Kindle ครับ

ทดลองเปิดแอพพลิเคชั่น Play Book ก็สามารถใช้งานได้ปกติครับ

จะย่อ/ ขยาย ขนาดตัวอักษร ก็จะสามารถทำได้เหมือนกันครับ

Feature การเปลี่ยนหน้าของแอพพลิเคชั่น Play Book เวอร์ชั่นล่าสุด

หากนำเครื่อง Boox C67 มาเน้นอ่านเว็บ หรืออ่านแอพพลิเคชั่นข่าว หรืออ่านแอพนิยาย แบบถนอมสายตา ก็สามารถทำได้เหมือนกันครับ

ทดลองกับแอพ Blognone ขนาดตัวอักษรกำลังพอดีครับ

Web Browser สามารถแสดงผลภาษาไทยได้ และค้นหาภาษาไทย และยังสามารถดาวน์โหลดไฟล์ลงเครื่องได้โดยตรงครับ

ใช้งาน Pantip.com อาจจะยากนิดนึง เนื่องจาก theme ของเว็บเป็นโทนสีเข้ม

หากต้องการดาวน์โหลด E-book จาก hytexts.com ก็เข้าไปที่ My library ดาวน์โหลดลงเครื่อง เปิดอ่านได้เลย โดยไม่ต้องติดตั้งแอพเพิ่มเติมครับ

การใช้งาน Audio ฟังเพลง Mp3 อยู่ในระดับที่เฉยๆ เสียงไม่ได้ดีอะไรมากมาย เสียงเบสต้องเร่งจาก EQ แทน แต่ Audio มีไว้ก็ยังดีกว่าไม่มีติดมาให้ครับ

Sleep cover ซึ่งทำหน้าที่คล้ายๆกับ Snap Cover ของ Sony PRS-T3 คือ เมื่อเราปิดปกเข้ามา เครื่องจะเข้าสู่โหมด Stand by และหากเปิดปกขึ้นอีกครั้ง เครื่องก็จะแสดงหน้าสุดท้ายที่เราเปิดไว้โดยอัตโนมัติ

สำหรับระยะเวลาการใช้งานของแบตเตอรี่ หากใช้งานโดยเปิด WI-Fi ทิ้งไว้ จะค่อนข้างกินแบตพอสมควร

  • เปิด Wi-Fi และเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตลอด และไฟ Front light โดยที่ เข้าเว็บ, อ่านหนังสือจะอยู่ได้ประมาณ 2-3 วัน
  • ถ้าปิด Wi-Fi และใช้งานเปิด Front light ก็สามารถใช้งานประมาณ 2 สัปดาห์
  • ถ้าปิด Wi-Fi และปิด Front light ก็สามารถใช้งานประมาณ 4 สัปดาห์

ตัวเครื่องมีระบบปิด Wi-Fi เมื่อไม่ได้ใช้งานให้โดยสามารถกำหนดระยะเวลาได้ จึงไม่ต้องกังวลว่าเครื่องจะกินแบตครับ

Boox C67 จึงเป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจ หากคุณกำลังหา E-reader เอาไว้ซักเครื่อง สำหรับอ่าน E-book , เข้าเว็บ หรืออ่านข่าวจากแอพ แบบถนอมสายตา และเป็น E-Reader ที่รองรับภาษาไทยได้ดีที่สุดในขณะนี้

วิดีโอรีวิวการใช้งานทาง YouTube

สั่งซื้อและดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.hytexts.com

Blognone Jobs Premium