แนวโน้มเทคโนโลยีปี 2008 โดยบรรดานักเขียนระดับ writer ตามที่สัญญากันไว้ (ช้านิดหน่อยเป็นความผิดผมเอง)
ปีหน้าผมฟันธง Mobile Integrated Service จะมาแรง บริการแนวนี้มีเยอะมาก เอาเท่าที่รู้จักกันดีก็มี Twitter และ Jaiku ทั้งคู่เป็น Microblog ที่สามารถใช้งานผ่านทางโทรศัพท์มือถือได้ทั้งทาง SMS J2ME Web หรือแม้แต่ทาง IM
ในอนาคตอันใกล้ทุกคนจะเริ่มตระหนักว่า อีเมลช้าเกินไป IM หรือ IRC ก็ยังต้องรอให้เปิดเครื่อง Blog ซึ่งเคยเป็นทางเลือกที่มาแทนที่อีเมล IM และ IRC ในการสื่อสารหมู่มากก็มีความช้า Feed ทั้งหลายก็ต้องรอ แต่สำหรับ Twitter ไม่มีคำว่ารอ ทุกอย่างทันทีทันใด แต่จะทำได้แค่ไหนก็ขึ้นกับจินตนาการเท่านั้น
ปีที่กำลังจะผ่านไป Google ได้ซื้อ Jaiku ไปฟูมฟัก ปีหน้า Jaiku จะต้องกลายเป็นอาวุธลับของ Google แน่
ตอนนี้เริ่มมี notebook ขนาดเล็กที่ใช้ SSD memory ออกมาสู่ท้องตลาดจำนวนมาก รวมถึงพวกอุปกรณ์พกพาที่มี Wireless connection อยู่ในตัว (เช่น iPhone หรือว่ากล้องถ่ายรูป) แต่ว่าเมื่อมันมีพื่นที่เก็บข้อมูลเล็กมาก จนเมื่อลง OS แล้ว ก็เหลือที่นิดเดียว ในทางกลับกัน ความเร็วเครือข่ายโดยเฉลี่ยก็เร็วขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Wireless (ปีหน้า 802.11n น่าจะเริ่มใช้กัน
เยอะ หรือแม้แต่ WiMax อาจจะได้เห็นหน้าค่าตากันจริงๆ) หรือว่า roadband ที่ทำให้การเข้าถึงข้อมูลขนาดใหญ่ ๆ ใน remote storage ไม่ใช่เรื่อง ลำบากอีกต่อไป
ดูแนวโน้มของการพัฒนา Hardware และ Network แล้ว น่าจะเห็นได้
ไม่ยากว่า remote storage คงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป
ย้อนกลับมาดูผู้ให้บริการบ้าง ปีหน้า เราน่าจะได้เห็น GDisk จาก Google กันสักที ส่วน Amazon นั้นก็น่าจะขยาย S3 ของตัวเองให้เข้าถึงผู้ใช้ได้ง่ายขึ้น และไม่แน่Yahoo ซึ่งหลัง ๆ ก็อาการไม่ค่อยดี ก็อาจจะโดดมาร่วมด้วย หลังจากประกาศเปิดให้ใช้ Yahoo mail ได้โดยไม่จำกัดพื้นที่ และ Microsoft/MSN ที่หลัง ๆ เน้น ใครทำอะไร ขอ Microsoft ทำด้วย ก็น่าจะโดดมาร่วมได้
ไม่ยาก รวมถึงผู้ให้บริการรายย่อยอื่น ๆ เช่น Apple (ที่มีให้บริการอยู่
แล้วผ่าน .Mac แต่ก็ยังไม่เต็มที่) หรือว่า Box.com ด้วย
มองข้ามไปอีก (อาจจะเป็นปีถัดไป) ด้วยมาตรฐานที่เริ่มเปิดมากขึ้นเรื่อย ๆ (เช่น จาก Google หรือว่า Facebook) เราน่าจะเห็นการประสานกันของบริการต่าง ๆ ที่เนียนมากขึ้น ผมลองนึกภาพแบบนี้นะครับ เดี๋ยวนี้เวลาถ่าย
รูป กล้องถ่ายรูป ก็จะเก็บรูปไว้ใน memory card พอกลับถึงบ้าน เราก็ต้องมา upload รูปจาก memory card เข้าไปในคอมพิวเตอร์ แล้วก็ต้อง upload
ขึ้นไปไว้บน Flickr อีกที พอ upload เสร็จ อยากจะส่งรูปไปให้เพื่อน ๆ ดู เราก็มีทางเลือกสองทางคือ ส่งจาก Flickr ซึ่งก็ไม่สะดวกเท่าไหร่ เพราะว่า Flickr ไม่มีบริการส่งรูปผ่าน email (ผมหาไม่เจอแหะ) ก็อาจจะต้องมานั่ง copy link ของรูปจาก Flickr มาใส่ email (หรือว่าทำ set ก็ว่าไป) หรือ
ไม่ก็ต้องใส่รูปจากในเครื่องเราเข้า email client แล้ว ก็ต้องรอมัน upload รูปขึ้น email server .... จะเห็นว่ามันมีการ upload หรือว่าย้ายข้อมูลจำนวน
มหาศาลจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งหลายๆ ครั้ง
ปีหน้าเราอาจจะไม่ต้องทำแบบนี้ก็ได้ครับ พอถ่ายรูปปุ๊บ กล้องถ่ายรูปของ
เราก็ upload รูปผ่านทาง Wifi ของร้านกาแฟที่อยู่ใกล้ ๆ (Starbuck?) แล้วรูปของเราก็ขึ้นไปเก็บไว้ใน remote storage สักที่ที่เราเช่าไว้ เราอาจจะสามารถสร้าง action ให้รูปมันไปโผล่ที่ flickr เลยก็ได้ หรือว่า พอกลับมาถึงบ้าน ก็ไปสั่งให้ flickr ไปเรียกรูปมาจาก remote storage มาแสดง (ซึ่ง
แน่นอน ไวกว่า upload จากในเครื่อง) แล้วก็สั่งให้ share รูปให้เพื่อน ๆ เราสามารถเข้ามาดูรูปได้ ผ่านทาง email ทั้งหมดนี้ มีการ upload รูปแค่
ครั้งเดียวคือจากกล้องถ่ายรูปไปยัง remote storage แม้แต่flickr เอง ก็ไม่อาจจะไม่ทำการเก็บรูปของเราที่ server ของflickr แต่ทำตัวเหมือน "proxy" จากหน้าเว็บของ flickr ไปยัง remote storage ของเรา
สรุปว่า ปีหน้า เราอาจจะเลิกคุยกันว่า harddisk ใน notebook เรามีขนาดเท่าไหร่ แต่เป็นว่า ใช้ remote storage ที่ไหนอยู่ แล้วมี bandwidth เท่าไหร่แทน
ผมว่าปีหน้า sub notebook หรือ portable pc น่าจะมาแรงหลังจากที่ Eee Pc
วางตลาดทั่วโลกรวมทั้งไทย ไหนจะ Classmate PC และ OLPC
ตัวที่ทำตลาดผู้ใช้ทั่วไปอีก ถึงตัวเลือกจะยังดูน้อยอยู่
แต่คาดว่าบริษัทอื่นๆ คงกระโดดเข้ามาร่วมวง
และปรับลดราคาลงมาจากที่เคยสูงมากจนเกินเอื้อมหลายๆ คน
แต่ต่อไปผู้ใช้ระดับล่าง และกลางคงจะเข้าถึงผลิตภัณฑ์พวกนี้ได้มากขึ้น
เหมือนกับที่ Notebook ได้ทำไปแล้วในปีที่ผ่านๆ มาครับ
ผมคิดว่า iphone ยังคงตกเป็นข่าวให้ทั่วโลกกล่าวถึงมากที่สุด เพราะใน ปี 2008 iphone จะสามารถใช้ได้จริงในประเทศต่างๆ มากมาย จนเป็นที่นิยมและพูดถึงทั้งในทีวี หนังสือพิมพ์ (ยังไงดู ZunePhone ไว้หน่อยก็ดีครับ)
(แต่ถ้าเป็นในอเมริกา ผมคิดว่ากลับเป็นเรื่อง Android บนความถี่ 700 MHz)
ในปีนี้เรากำลังเข้าถึงโลกของเทคโนโลยีในด้านที่ต่างออกไป เรากำลังเข้าสู่ช่วงเวลาที่ระบบคอมพิวเตอร์จะสามารถรองรับการเข้าใช้งานได้มากขึ้นจนแทบไม่มีขีดจำกัด แต่ขณะเดียวกับก็มีค่าใช้จ่ายต่ำมากเมื่อมีการใช้งานไม่มากนัก เทคโนโลยีจำนวนมากเช่น โดยเฉพาะจากค่าย Amazon เช่น EC2, S3, และ SimpleDB เป็นบริการที่เข้ามาสู่โลกธุรกิจ ภาษาโปรแกรมแบบใหม่ๆ เช่น Erlang และ Stackless Python กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างสูง เนื่องจากความสามารถในการทำงานบนเครื่องที่มีหลายซีพียูได้เป็นอย่างดี
ทางด้านฮาร์ดแวร์เองก็มีทิศทางที่ชัดเจนที่จะเพิ่มจำนวนคอร์ในซีพียูให้มากขึ้น เช่น ชิป Cell ที่ใช้งานในเครื่อง PS3 หรืออินเทลเองก็กำลังวิจัยชิปที่ทำงานได้ในระดับ Teraflop ในชิปเดียว โดยมีจำนวนคอร์ภายในอยู่หลายสิบคอร์ โดยมีผลิตภัณฑ์ขายจริงอยู่บ้างแล้วเช่นชิปจากบริษัท Clearspeed ทิศทางเช่นนี้เป็นไปในทางเดียวกับโลกงานวิจัยที่กำลังสนใจในเรื่องของ Network-on-Chip ที่มุ่งเน้นการรวมของคอร์หลายๆ รูปแบบแล้วเชื่อมต่อเข้าด้วยกันด้วยเครือข่ายภายใน
สถาปัตยกรรม "Nehalem" (โค้ดเนม) เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่หลังจากที่
Core ได้ออกมาแทนที่ Pentium (NetBurst) ได้อย่างสวยงาม (กู้หน้าสำเร็จ)
ในทางเทคนิคแล้ว Nehalem ได้แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีของ PC โดยรวม อย่างเช่น รุ่น Desktop/Mobile มี 4 คอร์, ใช้ Triple Channel DDR3, 8 MB Cache,QuickPath Interconnect ที่มาแทนระบบ FSB, ฯลฯ
แต่ก็ต้องดูว่า Intel จะต่อยอดสายการผลิตระดับ 45 นาโนเมตรจาก Penryn
ไปได้ดีแค่ไหน (ร้อนป่าว)
ความเห็นเหล่านี้เป็นของนักเขียนระดับ writer เท่านั้น สมาชิกท่านอื่นมีความเห็นอย่างไร เขียนกันได้ในคอมเมนต์ได้เลยครับ (ส่วนใครอยากมีชื่อขึ้นในตัวเนื้อหาหลัก ปีนี้ยังมีเวลาอีกมาก ทำยอดให้ได้เป็น writer นะ)