จากบทความ สตาร์ตอัพไทยจะเติบโตจนเข้าสู่ตลาดหุ้นได้อย่างไร? มุมมองจากนักลงทุน-ผู้ประกอบการ ที่สรุปประเด็นจากงานสัมมนาของ AIS ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์ mai เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2558 ทำให้เราทราบว่าตลาดหลักทรัพย์ mai ก็มีนโยบายสนับสนุนสตาร์ตอัพและผู้ประกอบการรายย่อยเช่นกัน
หลังจากนั้นผมมีโอกาสสัมภาษณ์ คุณประพันธ์ เจริญประวัติ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ mai เพื่อเจาะลึกข้อมูลในเรื่องนี้ จึงนำมาเผยแพร่ต่อเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้ประกอบการที่สนใจระดมทุนในตลาดทุนครับ
คุณประพันธ์ เจริญประวัติ (ภาพจาก SET/mai)
ตลาดหลักทรัพย์ mai (อ่านว่า เอ็ม เอ ไอ) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2542 หรือเมื่อ 16 ปีก่อน เพื่อเป็นตลาดรองสำหรับบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กที่ต้องการเข้ามาระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ แต่เงื่อนไขยังไม่พอที่จะเข้าไปขายหุ้นในตลาด SET ซึ่งเป็นตลาดหลักของประเทศไทย (ประวัติของ mai)
ปัจจุบัน mai มีบริษัทเข้ามาซื้อขายหุ้นทั้งหมด 116 บริษัท (ตัวเลขจะเพิ่มขึ้นทุกปี) มีมูลค่าตลาด (market cap) ที่ 3 แสนล้านบาท ถือเป็นตลาดหลักทรัพย์ระดับรองที่โดดเด่นมากในเอเชีย เทียบกับตลาดรองของสิงคโปร์และมาเลเซียแล้ว mai ใหญ่กว่าทั้งในแง่จำนวนบริษัทและมูลค่าตลาด
ช่วงหลังๆ มีบริษัทไทยสนใจเข้ามาขายหุ้น IPO ใน mai มากขึ้นทุกปี โดยปี 2557 มีมากถึง 20 ราย และในปีนี้ก็มี IPO ไปแล้ว 6 ราย
ภารกิจหลักของ mai คือช่วยสนับสนุนให้บริษัทเข้ามาจดทะเบียนในตลาด โดยตอนนี้มีบริษัทที่สนใจเข้าจดทะเบียนกว่า 100 บริษัท บริษัทเหล่านี้มีที่ปรึกษาทางการเงินและผู้ตรวจสอบบัญชีแล้ว โดย mai ก็จะช่วยให้คำแนะนำกับบริษัทเหล่านี้ในการเข้ามาขายหุ้นในอนาคตอันใกล้นี้
ส่วนภารกิจรองของ mai คือการสนับสนุน ecosystem สำหรับธุรกิจขนาดย่อมในเมืองไทย ซึ่งคำว่าธุรกิจขนาดย่อมในที่นี้ อาจครอบคลุมกิจการ 3 แบบ
ตรงนี้จะเหมือนที่คุณประพันธ์อธิบายในบทความก่อน นั่นคือ mai มีแผนงาน 4 ด้าน ได้แก่
คุณประพันธ์ให้ความเห็นในฐานะผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ประกอบการขนาดย่อม ประเมินว่ามีจุดอ่อนเหมือนๆ กัน 3 ประการ ดังนี้
ปัญหาเรื่องกฎหมายและกฎระเบียบที่ไม่เหมาะกับการลงทุนในสตาร์ตอัพ ส่งผลให้บริษัทไทยต้องไปจดทะเบียนในต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ ตรงนี้ภาครัฐต้องช่วยกันแก้ไข ส่วนวงการ VC ในไทยก็ยังไม่ค่อยรวมตัวกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน ในอดีตเคยมีสมาคม VC ของไทยแต่พอกระแสตกก็เลยเงียบไป
คุณประพันธ์มองในมุมของผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์ว่า ที่ผ่านมาบริษัทเทคโนโลยีไทยที่ขายหุ้น IPO มักเป็นบริษัทแบบ system integrator ไม่ได้มีเทคโนโลยีของตัวเองทั้งหมด ซึ่งก็หวังว่ากระแสสตาร์ตอัพรอบนี้จะเปลี่ยนแปลงตรงนี้ได้ อยากเห็นบริษัทรุ่นใหม่ที่ไม่ต้องใช้เงินลงทุนเยอะ แต่สามารถเติบโตได้ด้วย business model ที่ดีกว่าคู่แข่ง
อย่างไรก็ตาม ในมุมของตลาดหลักทรัพย์ก็ไม่ได้คาดหวังว่าสตาร์ตอัพทุกรายจะต้อง exit ด้วยการขายหุ้นในตลาดเสมอไป เพราะในภาพรวมแล้ว ผู้ก่อตั้งสตาร์ตอัพมักมีบุคลิกเป็น innovator หรือนักประดิษฐ์ นักสร้างนวัตกรรม ชอบคิดค้นอะไรใหม่ๆ แต่ไม่ใช่ผู้ประกอบการ (entrepreneur) พอบริษัทโตถึงระดับหนึ่งแล้วจะไม่ค่อยอยากบริหารคน แนวโน้มการ exit จึงเป็นการขายบริษัทมากกว่าการเข้าตลาด โอกาสเห็นบริษัทพวกนี้ขายหุ้น IPO ย่อมน้อยลงไปด้วย
ในกรณีที่ฝันอยากเข้าตลาดหลักทรัพย์ คุณประพันธ์แนะนำว่าต้องเตรียมระบบบริหารจัดการงานภายในให้ดี ระบบการเงินบัญชีดี พื้นฐานต้องเข้มแข็งก่อน พอพื้นฐานดีอยู่แล้ว จะ exit ด้วยการขายบริษัทหรือ IPO ก็มักจบลงด้วยดีทั้งหมด
สุดท้าย คุณประพันธ์เตือนว่าการทุ่มสุดตัวเพื่อกิจการเป็นเรื่องดี แต่ขออย่าให้ฐานะการเงินส่วนตัวย่ำแย่จนเป็นหนี้ เพราะถ้าบริษัทล้ม เรายังสามารถเริ่มต้นใหม่ได้ในอนาคต มีประสบการณ์มากขึ้น โอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น แต่ถ้าเป็นหนี้ ชีวิตหลังจากนั้นอีกหลายปีให้หลังจะต้องทนทุกข์กับการเป็นหนี้ ไม่สามารถไปต่อได้เลย เสียดายศักยภาพของผู้ประกอบการเหล่านี้ที่สามารถไปได้ไกล แต่ต้องเสียเวลามาแก้ไขหนี้สินของตัวเอง หมดเวลาของชีวิตไปมาก