Sophos เป็นบริษัทความปลอดภัยชื่อดังอีกรายที่เราได้ยินชื่อกันบ่อยในช่วงหลัง ตัวบริษัทมีต้นกำเนิดมาจากอังกฤษ ก่อตั้งในปี 1985 และปัจจุบันเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน เดิมทีธุรกิจของบริษัทเน้นแอนตี้ไวรัสเป็นหลัก แต่ช่วงหลังก็ขยับมาทำผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัยอื่นๆ ด้วย (สำหรับคนที่สนใจเรื่องความปลอดภัย แนะนำให้ตามบล็อก Naked Security ของบริษัทนี้ครับ)
Blognone มีโอกาสสัมภาษณ์คุณ Sumit Bansal ผู้อำนวยการภูมิภาคอาเซียนและเกาหลีของ Sophos ทางอีเมล โดยมีประเด็นสั้นๆ เรื่องธุรกิจของ Sophos ในภาพรวม แผนธุรกิจในอนาคต และคำแนะนำต่อหน่วยงานภาครัฐของไทยต่อปัญหาการโจมตีไซเบอร์
ภารกิจของ Sophos คือทำให้ความปลอดภัยบนโลกไอทีเรียบง่ายและไว้วางใจได้ (reliable) แม้ว่าระบบไอทีจะซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ ก็ตาม บริษัทของเราก่อตั้งมาเกือบ 30 ปี เริ่มต้นจากแอนตี้ไวรัสและซอฟต์แวร์เข้ารหัสข้อมูล ปัจจุบันโซลูชันของเราออกแบบมาสำหรับป้องกันทุกอุปกรณ์ endpoint ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นโน้ตบุ๊ก เซิร์ฟเวอร์ อุปกรณ์พกพา เรามีลูกค้าธุรกิจกว่า 1 แสนรายใน 150 ประเทศทั่วโลก
ส่วนธุรกิจในไทยของ Sophos ใช้การขายผ่านตัวแทนจำหน่าย ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์เดียวกับที่ใช้ในประเทศอื่นๆ โดยตัวแทนจำหน่ายของเราคือ Ingram Micro, VRComm, E-Rong Consultants ลูกค้าหลักคือกลุ่มธุรกิจ แต่ก็รวมถึงหน่วยงานภาครัฐด้วย
ที่ผ่านมา การคุ้มครองความปลอดภัยของอุปกรณ์ endpoint มักแยกกันกับความปลอดภัยของตัวเครือข่าย (network security มีความหมายรวมถึงไฟร์วอลล์ด้วย) ไม่สามารถต่อเชื่อมกันได้ดีเท่าที่ควร มุมมองของ Sophos คือระบบความปลอดภัยทั้งสองส่วนต้องทำงานซิงก์กันเป็นอย่างดี
เรามีผลิตภัณฑ์ชื่อ Sophos Security Heartbeat มาเติมเต็มตรงนี้ ข้อมูลภัยคุกคามจากแต่ละ endpoint จะถูกแลกเปลี่ยนกันอัตโนมัติกับระบบเครือข่าย ถ้าจุดใดถูกโจมตี ระบบป้องกันจะทำงานอัตโนมัติโดยแอดมินระบบไม่ต้องลงไปยุ่งเลย
เป้าหมายถัดไปของ Sophos จะสนใจเรื่องการคุ้มครองข้อมูล (data protection) ซึ่งเราจะเปิดตัวในไตรมาสที่สองของปีนี้
คำแนะนำของเราคือต้องมีพื้นฐานความปลอดภัยที่ดีก่อน ระบบความปลอดภัยต้องคุ้มครองการโจมตีพื้นฐานให้ได้ก่อน จากนั้นค่อยหาวิธีรับมือกับภัยคุกคามที่ร้ายแรงและซับซ้อนขึ้น
พื้นฐานความปลอดภัยทั่วไปได้แก่
จากนั่นสิ่งที่องค์กรควรทำได้แก่