พลังงานจากกรดมด

by molek
8 May 2008 - 17:07

ปัจจุบันการหาพลังงานทดแทนมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากปริมาณเชื้อเพลิงชีวภาพที่มีราคาสูงขึ้นและมลพิษที่เกิดขึ้นทำให้หลายหน่วยงานวิจัยทำการวิจัยในพลังงานทดแทน หนึ่งในพลังงานที่ได้รับความสนใจคือพลังงานจากไฮโดรเจนที่นำมาทำเซลลฺ์เชื้อเพลิง เนื่องจากเป็นพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพราะหลังจากเผาไหม้แล้วจะได้แค่ไอน้ำออกมา

นักวิจัยจากสถาบันตัวเร่งปฏิกิริยาเลบนิซ ในรอสต๊อก (Leibniz Institute of Catalysis) ประเทศเยอรมันนี ได้ประสบความสำเร็จในการควบคุมการสกัดเอาไฮโดรเจนจากกรดมด (Formic acid, HCOOH) โดยไม่ต้องอาศัยอุณหภูมิที่สูงในการแยกเอาไฮโดรเจนออกมาซึ่งจำเป็นในการแยกไฮโดรเจนในปฏิกิริยาอื่น กระบวนการที่ทำนี้ใช้อุณหภูมิห้องและสามารถนำไปใช้ในเซลล์เชื้อเพลิงได้ทันที ซึ่งงานวิจัยนี้ตีพิมพ์ลงวารสาร Angewandte Chemie

นักวิจัยได้พัฒนาวิธีแยกไฮโดรเจนจากกรดมดโดย ในสภาวะที่ปรากฏ เอมีน (เช่น N,N-dimethylhexylamine) และตัวเร่งที่เหมาะสม (เช่นตัวเร่งที่ขายตัวไป ruthenium phosphine complex [RuCl2(PPH3)2]) กรดมดจะถูกเปลี่ยนไปเป็น คาร์บอนไดออกไซด์และไฮโดรเจนในทันที (HCOOH = H2 + CO2) ในอุณหภูมิห้อง การเร่งที่ง่าย ๆ โดยใช้ตัวถ่านชาร์โคล เป็นตัวกรองจับคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ ซึ่งทำให้ไฮโดรเจนที่ออกมามีความบริสุทธิ์จนใช้ในเซลล์เชื้อเพลิงได้

ข้อดีของงานวิจัยนี้เป็นการแก้ปัญหาการผลิตและการเก็บไฮโดรเจน เนื่องจากกระบวนการผลิตไฮโดรเจนในปัจจุบันต้องทำในที่อุณหภูมิกว่า 200 องศาเซลเซียส ซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตสูงมาก อีกทั้งการกักเก็บในรูปก๊าซมีความยากและไม่สามารถเติมแบบน้ำมันได้ ซึ่งนี้จะเป็นการแก้โดยการเก็บเป็นในรูปกรดมดแทน เนื่องจากกรดมดไม่เป็นสารพิษและเก็บง่าย และสามารถผ่านกระบวนการข้างต้นในยานพาหนะได้พลังงานในทันที และของเสียที่เพิ่มมาคือคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งสามารถหมุนเวียนตามธรรมชาติได้

ที่มา - จากfoosci.com โดย Physorg.com

ต้นฉบับ - Angewandte Chemie

Blognone Jobs Premium