ข่าวดีสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง ที่มีลูกหลานเเหลนโหลน ชอบเล่นเกม หากลูกหลานของท่าน เป็นเซียนเกมชั้นอ๋อง รางวัลโนเบลสาขาการแพทย์อาจจะตกอยู่กับลูกหลานของท่านโดยไม่รู้ตัว
สำหรับผู้ที่เล่นเกมเป็นชีวิตจิตใจ คงจะเคยใช้เวลาข้ามวันข้ามคืน ในการเล่นเกมที่โปรดปรานให้จบหมดทุกด่าน จบแบบธรรมดาไม่พอ ต้องจบแบบเก็บได้ครบทุกไอเท็ม อีกต่างหาก นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน (Washington University) เล็งเห็นประโยชน์ของเหล่าบรรดาเกมเมอร์เหล่านี้ ก็เลยพัฒนาเกมที่มีส่วนช่วยในการวิจัยขึ้นมา เกมส์ดังกล่าวมีชื่อว่า Foldit
ก่อนที่เล่นเกมนี้แล้วได้รางวัลโนเบล ก็ต้องอธิบายหลักการในเบื้องต้นก่อน เนื่องจากในร่างกายของมนุษย์เรา ประกอบไปด้วยโปรตีน และโปรตีน ก็สามารถมีูรูปแบบต่างๆ ได้มากกว่า 100,000 รูปแบบ รวมถึงมีความไวต่อปฏิกิริยาเคมีที่ไม่เหมือนกัน เรารู้รหัสพันธุกรรมบางส่วนของโปรตีน แต่เราไม่รู้ว่ามันจะโค้งงอเปลี่ยนรูปร่างซับซ้อนได้อย่างไร ซึ่งรูปร่างของโปรตีน ถือเป็นส่วนสำคัญมากในทางชีววิทยา
ถ้าหากมีคนนึกออก เคยมีโครงการอย่าง Rosetta@Home ซึ่งอาศัยคอมพิวเตอร์ของอาสาสมัครในการประมวลผล แต่ด้วยยอดสมาชิกในปัจจุบัน ที่มีประมาณ 200,000 คน ก็ยังไม่พอกับความต้องการดังกล่าว
เกม Foldit กับ โปรแกรม Rosetta ก็อาศัยรากฐานเดียวกัน แต่ในขณะที่ Rosetta@Home อาศัยเวลาว่างจากการประมวลผลมาช่วยในการคำนวณ แต่ Foldit อาศัยพลังสมองจากคนที่ว่างพอจะมาเล่นเกม ซึ่งเกมดังกล่าวไม่ต้องการอะไรมาก นอกจากความสามารถในการแก้ปัญหารูปร่าง 3 มิติเท่านั้น
ปัจจุบันนี้ มีผู้ที่เล่นเกมส์นี้้แล้วกว่า 1,000 คน และในอนาคต อาจมีการจัดแข่งขันระหว่างเกมเมอร์ กับ กลุ่มนักวิจัยที่ทำเรื่องโปรตีน โดยวางแผนไว้ว่า จะมีการจัด 2 ปี ครั้ง
สำหรับผู้ที่ทำคะแนนได้สูงสุด ก็จะมีการใส่ชื่อลงไปในผลงานที่ตีพิมพ์ทางด้านวิทยาศาสตร์ และสำหรับผู้ที่ชนะในการออกแบบโปรตีน ทางทีมวิจัยก็อาจนำการออกแบบนั้น มาสร้างเป็นโปรตีนที่ใช้งานได้จริง ซึ่งถ้าหากสามารถนำไปแก้ปัญหาโรคระบาดที่ร้ายแรงในปัจจุบัน (เอดส์,มาลาเรีย) เหล่าเกมเมอร์ก็อาจมีสิทธิคว้ารางวัลโนเบลอีกด้วย
ดีจัง จะได้มีข้ออ้างในการเล่นเกม
ข้อมูลเพิ่มเติม
Foldit เว็บไซท์ของเกม (ขณะที่เขียนข่าวยังไม่สามารถเข้าได้)
ที่มา - EurekAlert via Jusci.net