LINE Thailand แถลงกลยุทธ์ปี 2016 "Beyond Chat" เป็นมากกว่าแอพแชท

by mk
11 February 2016 - 07:34

LINE Thailand แถลงกลยุทธ์ธุรกิจประจำปี 2016 โดยคุณอริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้จัดการ LINE Thailand เป็นผู้นำการแถลงข่าวเป็นครั้งแรกหลังรับตำแหน่งเมื่อเดือนตุลาคม 2015

ภาพรวมของ LINE Thailand ปีนี้คือ "Beyond Chat" เป็นมากกว่าแอพแชทอย่างเดียว แต่มีบริการอื่นๆ เพื่อสนับสนุนภาคธุรกิจ ทั้งแบรนด์และ SME ในไทยด้วย

ผลงานปี 2015

ภาพรวมธุรกิจของ LINE ในปี 2015 มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

คุณอริยะย้ำว่า ปัจจุบันธุรกิจของ LINE ไม่ได้มีแค่แชทอย่างเดียว แต่มีธุรกิจข้างเคียงอื่นๆ ได้แก่

  • เกม
  • อีคอมเมิร์ซ: LINE Shop, LINE Gift Shop
  • คอนเทนต์: LINE TV, LINE Music, LINE Creator Market
  • ธุรกิจ: Official Account, LINE @
  • Payment: LINE Pay

นอกจากนี้ยังมีธุรกิจใหม่ยังไม่เปิดเผย จะได้เห็นในปี 2016 นี้

ภาพรวมอินเทอร์เน็ตไทย 4 เรื่อง

  • ผู้ใช้เน็ตไทยน่าจะเพิ่มจาก 40 ล้านคนเป็น 50 ล้านคน จากปัจจัยเรื่อง 4G ในไทย
  • จอมือถือกลายเป็นจอหลักสำหรับการดูวิดีโอ และ 80% ของวิดีโอออนไลน์คือรายการทีวี ดังนั้นจอมือถือจะกลายเป็นจอทีวี
  • อีคอมเมิร์ซกำลังจะกลายเป็น M Commerce (ข้อมูลปี 2015 ทราฟฟิก 60% มาจากมือถือ) พฤติกรรมการซื้อเป็นโซเชียล ประเมินยากว่ามีขนาดใหญ่แค่ไหน พอคาดเดาได้จากการโอนเงินผ่าน mobile banking ที่คาดว่าบัญชีจะเพิ่ม 33% จาก 9 ล้านเป็น 12 ล้านบัญชีในปี 2016
  • Apps in App (O2O = Online to Offline) ในอินโดนีเซีย LINE จับมือกับสตาร์ตอัพส่งของ Go-Jek ให้สามารถเรียกผ่าน LINE ได้โดยไม่ต้องดาวน์โหลดแอพ Go-Jek เลย

พฤติกรรมของผู้ใช้ LINE ในไทย

  • อัตราการใช้งานเฉลี่ยของคนไทย 83.7 นาทีต่อวันต่อคน
  • อัตราการใช้งานของคนไทย เยอะกว่าค่าเฉลี่ย global มาก รับข้อความมากกว่า 52%, รับรูปมากกว่า 114%, รับวิดีโอมากกว่า

วิสัยทัศน์ปี 2016

วิสัยทัศน์ของ LINE ในปีนี้ใช้คำว่า "Beyond Chat" มาจากแนวคิดว่าต้องการให้ชีวิตง่ายขึ้น แทนที่จะไปหาดาวน์โหลดแอพทีละตัว มาใช้ LINE ตัวเดียวได้เลย แพลตฟอร์มเดียวตอบโจทย์ได้หมด

คุณอริยะ วิเคราะห์ว่าผู้ใช้งานมี pain point จำนวน 3 ข้อ

1) App Overload

ตอนนี้โลกนี้มีแอพเยอะมาก แต่ละสโตร์มีแอพเกิน 1.5 ล้านตัว แต่เฉลี่ยแล้วคนติดตั้งแอพ 39 ตัว และใช้งานจริงแค่ 17 ตัว เกิดปัญหาการค้นหาแอพไม่เจอ ทำให้ LINE พยายามแก้โจทย์นี้ด้วย O2O บริการที่คนใช้ทุกวัน ให้อยู่ใน LINE ให้คนเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

บริการเก่าที่มีอยู่แล้วอย่าง LINE TV, LINE Music ก็ต้องขยาย แต่ LINE Thailand ก็เริ่มพัฒนาบริการใหม่ด้วยทีมงานในไทยเอง รวมถึงจะขยายไปเชื่อมต่อกับบริการของสตาร์ตอัพในไทยด้วย

2) Fragmented Digital Ecosystem

วงการดิจิทัลเกิด fragmentation เยอะมาก นักการตลาดเลือกไม่ถูก ซึ่ง LINE จะแก้ปัญหานี้โดยทำตัวเป็นแพลตฟอร์มกลางให้ มี Official Account ให้แบรนด์ใช้งาน, มี API ให้เชื่อมต่อบริการ, มีระบบ Pay by Official Account ส่งเสริมให้เกิดการขายของบน LINE

3) SME ไทยยังเข้าไม่ถึงระบบออนไลน์

มีเพียง 5 แสนรายจาก 2.8 ล้านรายที่เข้าถึงเครื่องมือดิจิทัล ดังนั้น LINE จะออก SME Solution เข้ามาช่วยให้บริการธุรกิจได้ง่ายขึ้น จุดเด่นคือธุรกิจเหล่านี้คุ้นเคยกับการใช้ LINE ในฐานะผู้ใช้อยู่แล้ว การเรียนรู้ไม่เยอะ แถมวัดผลได้ง่าย ยิงข้อความคูปองส่วนลดออกไปแล้วรู้ทันทีว่าได้ผลมั้ย ขายได้หรือเปล่า รู้ผลเรียลไทม์

ตอนนี้ LINE ยังไม่ประกาศราคาบริการสำหรับ SME ยังให้ใช้ฟรีอยู่ แต่ยืนยันว่าไม่แพง เพราะเข้าใจธรรมชาติของ SME ที่มีงบการตลาดแค่ไม่กี่พันบาทต่อเดือน

Blognone Jobs Premium