แม้คดีที่ Apple แย้งความเห็นของศาลที่ให้ทำรอมพิเศษเพื่อปลดล็อก iPhone ที่เป็นของกลางในคดีที่เมือง San Bernardino จะยังไม่จบ แต่ในอีกคดีหนึ่งซึ่งอยู่ระหว่างการสอบสวนในรัฐนิวยอร์กและ FBI มีคำขอที่คล้ายกัน ศาลของมลรัฐนิวยอร์กออกมาปฏิเสธคำขอของหน่วยงานรัฐบาลกลาง โดยระบุว่าไม่มีสิทธิในการบังคับให้ Apple ต้องปลดล็อกเครื่อง iPhone ที่เป็นของกลางแต่อย่างใด
ในคำตัดสินปฏิเสธคำขอดังกล่าว ผู้พิพากษา Orenstein ระบุว่าการอ้างของหน่วยงานรัฐบาลภายใต้รัฐบัญญัติ All Writs Act (กฎหมายที่ให้อำนาจศาลมีคำสั่งหรือตัดสินการกระทำบางอย่างที่อาจเป็นความจำเป็นตามสมควร ภายในท้องที่ของศาลนั้น ในกรณีที่ไม่มีช่องทางอื่นตามกฎหมายปกติ) ที่ต้องการให้ศาลมีคำสั่งปลดล็อกหน้าจอ iPhone ที่เป็นของกลางในการกระทำผิดนั้น ไม่สามารถใช้ได้ เพราะการตีความที่กว้างจนเกินไปของหน่วยงานรัฐ จนอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ เสียเอง
The extraordinary relief [the government] seeks cannot be considered "agreeable to the usages and principles of law." In arguing to the contrary, the government posits a reading of the latter phrase so expansive – and in particular, in such tension with the doctrine of separation of powers – as to cast doubt on the AWA's constitutionality if adopted.
ผู้พิพากษายังระบุเอาไว้ว่า Apple เองมีสิทธิที่จะให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยต่อลูกค้าตามที่ให้สัญญาไว้ รวมไปถึงคำขอของหน่วยงานรัฐบาลเป็นการเพิ่มภาระให้กับบริษัทด้วย
In considering the burden the requested relief would impose on Apple, it is entirely appropriate to
take into account the extent to which the compromise of privacy and data security that Apple promises
its customers affects not only its financial bottom line, but also its decisions about the kind of
corporation it aspires to be.
คำตัดสินดังกล่าวนี้แม้จะไม่มีผลเป็นการผูกพันกับคดีในมลรัฐอื่น โดยเฉพาะในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย แต่ถือว่าย่อมมีผลกับการโต้แย้งของ Apple และการอุทธรณ์ในอนาคตหากในคดีของ San Bernardino นั้น ศาลตัดสินให้ Apple ดำเนินการตามคำขอของหน่วยงานรัฐบาลกลาง
ที่มา - The Verge, คำตัดสินฉบับเต็ม