ผมมีโอกาสได้รับเกมมิ่งโน้ตบุ๊ก G Series ของ ASUS มารีวิวนะครับ โน้ตบุ๊กตัวนี้เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ภายใต้แบรนด์ ROG หรือ Republic of Gamers ซึ่งเป็นแบรนด์สินค้าสำหรับเกมเมอร์โดยเฉพาะ มีตั้งแต่เมาส์ คีย์บอร์ด หูฟัง การ์ดจอ ไปจนถึงคอมพิวเตอร์พีซี
โน้ตบุ๊กรุ่นที่ผมได้รับมารีวิวในครั้งนี้ได้แก่ ASUS G751JT จะมีประสิทธิภาพเป็นอย่างไร มาอ่านกันได้เลยครับ
เริ่มที่สเปคอย่างย่อของเครื่องทดสอบก่อนนะครับ
ได้จับเครื่องครั้งแรก ขอบอกว่า หนักมาก น้ำหนักของตัวเครื่องเอง ประมาณ 4.2 กิโลกรัม รวมกับอะแดปเตอร์อีก 9 ขีดกว่า ทำให้มีน้ำหนักรวมอยู่ที่ 5.2 กิโลกรัม เมื่อเอามาเทียบขนาดกับ Macbook Pro 13" จะเห็นว่าเครื่องใหญ่ และหนากว่ามาก (ความหนาอยู่ที่ 3.5-5.5 ซม.)
ส่วนตัวอะแดปเตอร์เป็นอะแดปเตอร์โน้ตบุ๊กที่จ่ายไฟได้มากกว่าโน้ตบุ๊กปกติ โดยจ่ายได้ประมาณ 200 กว่าวัตต์ (เทียบกับ 85 วัตต์ของ Macbook Pro Retina) ส่วนขนาด ก็ใหญ่กว่าไอโฟน 6s Plus เล็กน้อย (ไม่นับความหนาที่หนากว่ามาก)
ฝาหลังของเครื่องมีโลโก้ Republic of Gamers ที่จะเรืองแสงสีแดงเมื่อเปิดเครื่อง ด้านล่างของเครื่องมีช่องระบายอากาศขนาดใหญ่ (ขณะเล่นเกม จะมีลมร้อนมากเป่าออกมา ไม่ควรวางอะไรขวางทางลมเลยครับ)
ด้านซ้าย เป็นสล็อตสำหรับเสียบ SD Card, ไดรฟ์ Blu-ray (อ่านอย่างเดียว แต่เขียนแผ่นดีวีดีได้ด้วย), USB 3.0 สองพอร์ต และรูล็อกเครื่อง
ด้ายขวา มีรูหูฟัง, ไมค์ และ Lineout, ตามด้วย USB 3.0 อีกสองพอร์ต, DisplayPort (Thunderbolt), HDMI, Gigabit LAN, VGA และ DC IN
จะเห็นว่าโน้ตบุ๊กเครื่องนี้มีข้อดีตรงที่มีพอร์ตเยอะมาก ครบถ้วนแทบทุกแบบเลยทีเดียว
เปิดเครื่องออกมา จะเจอตัวคีย์บอร์ดมีไฟเรืองแสงสีแดง พร้อมกับมีปุ่มตัวเลขให้ด้วย ที่ดูแปลกไปก็น่าจะเป็นปุ่มลูกศรที่ขยับลงมาจากตำแหน่งปกติหน่อย อาจทำให้ไม่ค่อยคุ้นไปบ้าง
ตรงปุ่ม WASD มีเน้นสีให้พิเศษ และมีตุ่มนูนตรงตัว W ให้รู้ตำแหน่งเมื่อสัมผัส
นอกจากปุ่มปกติแล้ว ก็มีปุ่มพิเศษได้แก่
ด้านล่างมีทัชแพดขนาดใหญ่ วัดขนาดได้ 6.5x12 เซนติเมตร เป็นมัลติทัช สามารถปรับแต่งการใช้งานได้บางส่วนด้วยซอฟต์แวร์ในเครื่อง ตัวปุ่มของทัชแพดจะมีลักษณะที่สามารถกดลงไปได้ลึก ทำให้กดได้มันกว่าโน้ตบุ๊กเครื่องอื่น
ถัดจากทัชแพด จะเป็นไฟสถานะ มี 5 ดวง ได้แก่ ไฟเปิดเครื่อง, แบตเตอรี่, ฮาร์ดดิสก์, โหมดเครื่องบิน, ปุ่ม Numlock โดยสองสถานะแรกนั้น จะมีไฟทั้งด้านหน้าและด้านบน ส่วนอีกสามสถานะจะมีไฟด้านหน้าอย่างเดียว เข้าใจว่าออกแบบมาให้เวลาใช้งานจะสามารถเห็นไฟแบตเตอรี่ได้ชัดเจนเมื่อมันกำลังจะหมด แต่ถ้าอยากรู้ว่าใช้ Numlock อยู่หรือไม่ ก็ก้มดูเอาเองแล้วกัน
นอกจากนี้ยังมีความงงเล็กน้อยกับสถานะโหมดเครื่องบิน คือ ถ้าเปิดโหมดเครื่องบินไฟจะดับ แต่ถ้าปิดโหมดนี้อยู่ (คือใช้ระบบไร้สายได้) ไฟจะติด
ถัดไป มาเปิดเครื่องเพื่อดูประสิทธิภาพกันดีกว่าครับ
CPU
คะแนนจาก CPU-Z ได้คะแนนไป 1500/5586
SSD และ Harddisk
ตัว SSD ทำความเร็วอ่านสูงสุดอยู่ที่ 460 MB/s ส่วนเขียน อยู่ที่ราว 430MB/s ส่วน Harddisk ทั้งอ่านและเขียน อยู่ที่ประมาณ 110 MB/s ทั้งคู่ ด้วยความเร็วของ SSD ทำให้โน้ตบุ๊กเครื่องนี้บูตวินโดวส์ขึ้นมาโดยใช้เวลาเพียง 10 วินาทีเท่านั้น
รายละเอียด GPU จาก GPU-Z
Cloud Gate - ตัวนี้เป็นการทดสอบคอมพิวเตอร์พื้นฐานทั่วไป รายละเอียด
Sky Diver - ตัวนี้เป็นการทดสอบเกมมิ่งโน้ตบุ๊ก และพีซีระดับกลางๆ รายละเอียด
Fire Strike - ตัวนี้ทดสอบเกมมิ่งพีซีระดับสูงครับ รายละเอียด
ในเมื่อเป็นโน้ตบุ๊ก ก็อาจมีโอกาสให้เรา "แบก" ไปนั่งเล่มเกมนอกสถานที่ตามร้านกาแฟชิคๆ บ้าง ผมเลยทดสอบอัตราการบริโภคพลังงาน เพื่อดูว่าเราจะมีเวลาชิลได้นานแค่ไหน
เริ่มจากสถานการณ์ นั่งเล่นเฟซบุ๊ก ดูยูทูบ แบตเตอรี่ขนาด 84 Wh สามารถให้เราเล่นได้ประมาณ 3 ชั่วโมง (อัตราบริโภคพลังงานอยู่ที่ 26-32 วัตต์)
หลังจากนั้นลองเล่นเกม อัตราการใช้พลังงานกระโดดไปอยู่ที่ประมาณ 61 วัตต์ หากชาร์จไฟเต็มที่จะอยู่ได้ประมาณชั่วโมงครึ่งเท่านั้น (แบตลดประมาณ 1% ต่อ 1 นาที) ถ้าเล่นเกม MOBA ที่เฉลี่ยเกมละประมาณ 45 นาที ก็อาจมีเสียวๆ ว่าแบตจะพอจบเกมที่สองไหม
อื่นๆ
เมื่อพูดถึงคะแนน Benchmark อาจยังนึกไม่ออกว่าโน้ตบุ๊กเครื่องนี้ แรงพอจะเล่นเกมอะไรได้บ้าง จึงขอเอาเกมช่วงปี 2014 มาลองทดสอบกันนะครับ
Call of Duty: Advanced Warfare - ปรับออฟชั่นสูงสุด ทำเฟรมเรทไปได้ระหว่าง 75-85 fps และมีบางฉากที่สูงขึ้นไปเฉียดร้อย
Fallout 4 - ฉากทั่วไปเฟรมเรทจะอยู่ที่ 25-30 fps หากเป็นฉากในพื้นที่ปิด (มุมมองแคบ หรือมีวัตถุน้อย) จะขึ้นไปสูงระดับ 60 fps
Dying Light - ฉากส่วนใหญ่ทำเฟรมเรทไปได้ที่ 30 fps ถึงแม้จะมีบางฉากที่ตกไปเหลือ 25 fps แต่ก็ไม่มีปัญหาในการเล่นแต่อย่างใด
Far Cry 4 - สามารถทำเฟรมเรทไปได้ถึง 50 fps
Rise of the Tomb Raider - เมื่อปรับออฟชั่นทุกอย่างสูงสุด และปรับ Ambient Occlusion เป็น HBAO+ จะมีเฟรมเรทแค่ 18 fps แต่ถ้าตั้ง Ambient Occlusion เป็น ON เฉยๆ ก็จะเฟรมเรทเฉลี่ยอยู่ที่ 35-40 fps ส่วนใครอยากลองเล่นเกมแบบสามมิติ ในโหมด 3D Side-by-Side ก็สามารถทำเฟรมเรทได้ประมาณ 25 fps
Assassin's Creed Unity - เมื่อปรับกราฟิกในระดับ Ultra High จะทำเฟรมเรทได้เพียง 20 fps แต่ถ้าปรับ Very High จะทำได้ 30 fps และ High จะทำได้เพิ่มขึ้นไปเป็นประมาณ 40 fps
Watch_Dogs - ปรับกราฟิกระดับ Ultra สามารถทำเฟรมเรทไปได้ 40-50 fps
Need for Speed - เกมใหม่ล่าสุดตัวนี้ มี recommended spec ที่การ์ดจอ GTX 970 ซึ่งโน้ตบุ๊กเครื่องนี้สามารถเล่นได้ไม่มีปัญหา แต่ถ้าปรับ Ultra สุดทุกอันจะได้เฟรมเรทที่ไม่สูงมากนัก (35-40 fps) และมีดรอปในบางฉาก ซึ่งถ้าปรับ Shadow เหลือ High ก็จะขยับขึ้นไปได้ประมาณ 50-60 fps
อย่าลืมว่าที่ทดสอบนี้ ปรับกราฟิกเกือบสูงสุดทุกเกมนะครับ เพราะฉะนั้น หากต้องการเฟรมเรทที่สูงขึ้น ก็อาจปรับลดบางอย่างลงมา ซึ่งในบางเกมก็แทบไม่เห็นความแตกต่างของภาพเท่าไหร่ครับ
ข้อดี
ข้อเสีย
ASUS G751JT เป็นเกมมิ่งโน้ตบุ๊กที่มีประสิทธิภาพพอตัว สามารถเอามาใช้เป็น desktop replacement ได้ โดยมีข้อดีของโน้ตบุ๊กคือ ขนาดกะทัดรัด เคลื่อนย้ายสะดวก เมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์แบบเดสก์ท็อป ตัวฮาร์ดแวร์ของเครื่องออกแบบมาได้เหมาะกับการเป็นเครื่องเล่นเกม มีจอภาพขนาดใหญ่ และพลังประมวลผลที่สูง
อย่างไรก็ตาม ด้วยราคาที่สูงกว่าโน้ตบุ๊กขนาดกลางอย่างมาก คอเกมที่ไม่ใช่สายฮาร์ดคอร์อาจจะมองว่าไม่คุ้ม และคอเกมฮาร์ดคอร์ที่ไม่จำเป็นต้องพกเครื่องย้ายไปมาก็อาจจะคิดว่าซื้อเดสก์ท็อปคุ้มค่ากว่า