จากที่ได้มีงานวิจัยชิ้นก่อนที่ สรุปว่า การใช้ instant messaging ทำให้คนทำงานถูกขัดจังหวะบ่อย ๆ นำไปสู่ประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลง
Ohio State University และ Hniversity of California ได้ทำการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับผู้ที่ทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์จำนวน 912 คน พบว่าการใช้ระบบ instant messaging ในบางรูปแบบสามารถลดการถูกขัดจังหวะการทำงานได้ โดยผู้ใช้สามารถกำหนดสถานะของตัวเองให้เพื่อนร่วมงานได้รับทราบ ว่าสะดวกในการพบปะพูดคุยหรือไม่ รวมทั้งยังสามารถใช้ข้อความโต้ตอบขนาดสั้น ซึ่งใช้เวลาน้อยกว่าการพบปะพูดคุยกัน และสามารถเลือกที่จะโต้ตอบกับเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ ได้ในภายหลัง ในช่วงเวลาที่ผู้ใช้รู้สึกว่าตนเองสะดวกที่จะโต้ตอบ
การวิจัยในครั้งนี้ ผู้ถูกสัมภาษณ์ส่วนใหญ่มีความรู้สึกว่า การใช้ instant messaging ทำให้ถูกขัดจังหวะในการทำงานลดลง แต่ก็ยังสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกับเพื่อนร่วมงานได้เท่าเดิม ส่วนที่ว่าจะมีประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น หรือลดลงอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับการปรับแต่งวิธีการใช้งานของแต่ละคน ให้เหมาะสมกับตัวเองก็แล้วกัน