Financial Times เผยแพร่รายงานพิเศษเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันของมนุษย์และหุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งทีมข่าวลงพื้นที่ถึงโรงงาน เพื่อค้นหาว่าการเข้ามาของหุ่นยนต์เพื่อการทำงานนั้นส่งผลดีต่อมนุษย์จริงหรือไม่
“ในอดีต หุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรมมีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก และเคลื่อนไหวรวดเร็ว ต้องเก็บรักษาอย่างดี เพราะไม่ปลอดภัยต่อมนุษย์ อีกทั้งยังต้องฝึกฝนโปรแกรมเมอร์เพื่อจะป้อนคำสั่งหน้าที่ แต่ตอนนี้ หุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรมเปลี่ยนแปลง มีน้ำหนักเบาขึ้น สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ได้มากขึ้น ระบบเซนเซอร์ที่ล้ำสมัยทำให้หุ่นยนต์เคลื่อนไหวได้มีประสิทธิภาพขึ้น” Jürgen Heidemann ผู้ที่ทำงานใน SEW Eurodrive โรงงานอุตสาหกรรมยานยนต์มานาน
Baxter หุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรมจากค่าย Rethink Robotics ภาพจาก วิกิพีเดีย
คำว่า cobot จึงหมายถึงหุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรมที่สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ได้อย่างปลอดภัยและมีเสถียรภาพ และในบรรดาหุ่นยนต์ทุกประเภททั่วโลก cobot ยังไม่ popular มีส่วนแบ่งการตลาดน้อย คือต่ำกว่า 5% จากยอดขายหุ่นยนต์ทั้งหมด แต่อนาคตไม่แน่ James Stettler นักวิเคราะห์จาก ธนาคารเพื่อการลงทุน Barclays Capital คาดการณ์ว่า ตลาด cobot จะโตขึ้นจาก 100 ล้านเหรียญฯในปีที่แล้ว เป็น 3,000 ล้านเหรียญฯภายในปี 2020
มีความกลัวว่าหุ่นยนต์จะมาแทนที่มนุษย์อย่างสมบูรณ์จนมนุษย์ว่างงาน มีการวิจัยทำนายไว้ว่ามีโอกาสที่จะเป็นเช่นนั้น มีกระแสตอบโต้ข้อสันนิษฐานนี้ว่า cobot สามารถทำงานเสี่ยงอันตรายและงานอื่นที่มนุษย์ไม่เต็มใจทำได้
Joe Shelton ผู้จัดการการผลิตรถยนต์เจ้าหนึ่ง บอกว่าช่วงแรกก็มีความกลัวว่าหุ่นยนต์เหล่านี้จะมาแย่งงานทำตอนที่มีหุ่นยนต์เข้ามาร่วมงานด้วย แต่ที่บริษัทไม่มีใครโดนปลดเลย เราเพียงแต่ต้องออกแบบการทำงานใหม่เท่านั้น
Mercedez-Benz นำหุ่นยนต์มาแทนที่คนในบางไลน์และเปลี่ยนเอาคนกลับมาแทนที่หุ่นยนต์ เพราะหุ่นยนต์ไม่มีความกระฉับกระเฉง ไม่สนองต่อการผลิตให้ทันยอดขายที่เพิ่มขึ้น ระเดียวกัน นักวิจัยจาก BMW พบว่า ทีมงานที่มีทั้งหุ่นยนต์และมนุษย์ 85% สามารถทำงานร่วมกันอย่างเห็นผลมากกว่าจะแยกกันทำงาน
ที่มา - Financial Times