จริงๆ การยึดไว้ตรวจสอบเช่นนี้ได้รับอนุญาตมาหลายปีแล้ว ไม่ว่าจะกับแล็ปท็อบ กล้องดิจิตอล โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ อุุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ แต่มีข่าวออกมาสู่สาธารณะชนน้อยมาก จนมาถึงปัจุบันที่กระแสต่อต้านกระกระทำดังกล่าวเริ่มหนาขึ้นทั้งจากนักเดินทาง และนักกฎหมาย โดยนายบิล โฮแกน (นักข่าวอิสระ) ซึ่งแล็ปท็อปของเขาถูกสุ่มยึดได้ตรวจสอบเป็นระยะเวลา ๒ สัปดาห์ ขณะเดินทางกลับบ้านจากเยอรมัน กล่าวว่า "นี่อาจเข้าข่ายเป็นการยึดทรัพย์มากกว่าการยึดไว้ตรวจสอบ เพราะเจ้าหน้าที่อาจจะทำสำเนาข้อมูลเขาไว้ก็ได้"
ตามปกติการกระทำลักษณะนี้จำเป็นต้องขอหมายศาลก่อน แต่สำหรับการตรวจคนเข้าเมืองเจ้าหน้าที่สามารถตรวจค้นสิ่งต้องสงสัยได้ทุกอย่างโดยไม่ต้องขอหมายศาล
สำหรับกฎหมายไทยจะตรงกับ พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตราที่ ๑๘ ข้อที่ ๘
ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
ซึ่งต้องขออนุญาตศาลก่อน และเจ้าหน้าที่ต้องส่ง สำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจ ตามที่ศาลได้มีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าของ หรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานด้วย
มีใครได้มาแล้วบ้างครับ :)
ที่มา: Los Angeles Times