อินเทอร์เน็ต โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของยุค Smart Phone และ IoT

by advertorial
8 July 2016 - 03:15

“สังคมก้มหน้า” เป็นคำแซวถึงพฤติกรรมการใช้งาน Smart phone ซึ่งต้องยอมรับว่าเกิดขึ้นจริงในสังคมปัจจุบัน เห็นได้จากผู้คนรอบข้างเรา หรือแม้กระทั่งตัวเราเองซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ การใช้ Smart phone เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราเริ่มตั้งแต่ตื่นขึ้นมาบางท่านก็เปิดอ่านข้อความบนไลน์ก่อนที่จะล้างหน้าล้างตาด้วยซ้ำไป อาจด้วยเหตุผลที่ต้องการ update ข่าวสารหรือกิจกรรม ว่าวันนี้มีอะไรใหม่ๆ เกิดขึ้นบ้าง เราใช้ Smart phone ในขณะเดินทาง ขณะทำงาน จนกระทั่งก่อนนอนเราก็ยังใช้อยู่

Smart phone มีอะไรดี? ทำไมเราต้องใช้กันอยู่ตลอด

ตัวอย่างการใช้งานที่เราพบในปัจจุบัน เช่น เราใช้เพื่อคุยกับเพื่อนทั้งโทรและแชท ใช้เพื่อติดตามข่าวสารจากสื่อต่างๆ ใช้เพื่อดูหนังฟังเพลง ใช้เพื่อติดต่อธุรกิจ ใช้เพื่อหาข้อมูลนู่นนี่นั่น ใช้เพื่อถ่ายรูปถ่ายวีดีโอ ใช้อีกมากมายหลายอย่างที่ไม่สามารถกล่าวได้หมดในที่นี้

หากเราพิจารณาการใช้ Smart phone ตามวัตถุประสงค์การใช้งานสามารถแบ่งได้ดังนี้

  1. ใช้เพื่อการติดต่อสื่อสาร
  2. ใช้เพื่อการค้นหาและประมวลผลข้อมูล
  3. ใช้เพื่อการ รับ-ส่ง และเก็บข้อมูล

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่าการเข้ามาของ Smart phone มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตของเราไปมาก เนื่องจากมันช่วยให้การใช้ชีวิตและการทำงานของเราสะดวกและเพลิดเพลินมากขึ้นนั่นเองจึงเป็นที่มาของ “สังคมก้มหน้า” ในปัจจุบัน

สิ่งที่กระตุ้นให้มีการใช้งาน Smart phone มากขึ้น เกิดจากการพัฒนาทางเทคโนโลยีที่ผสมผสานกันอย่างลงตัวสามส่วนได้แก่

  1. ส่วนของอุปกรณ์ Hardware ต่างๆ ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตมีราคาถูกลง แต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นจึงง่ายกับการที่จะซื้อหาไว้ใช้งาน
  2. ส่วนของช่องทางในการเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตและโครงสร้างพื้นฐานที่สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ในราคาที่ผู้ใช้บริการยอมรับได้
  3. ส่วนของการพัฒนา Application และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ซึ่งตอบสนองการใช้งานของผู้ใช้มากขึ้นนั่นเอง

การพัฒนาของเทคโนโลยีทั้งสามส่วน ณ วันนี้จะนำไปสู่ยุคที่อุปกรณ์ต่างๆ สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกัน และแสดงผล แจ้งเตือน หรือรับคำสั่งผ่านอุปกรณ์ Smart phone ของเราได้ซึ่งจะอำนวยความสะดวกแก่การดำเนินชีวิตของมนุษย์มากขึ้นในอนาคต ซึ่งเรียกว่า “Internet of Things”

ความหมายโดยรวมของคำนี้คือการกล่าวถึงเทคโนโลยีที่ทำให้อุปกรณ์ต่างๆ รอบตัวเราสามารถติดต่อสื่อสารปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันผ่านอินเทอร์เน็ตเพื่อเก็บข้อมูล นำมาวิเคราะห์ และปรับตัวให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้ใช้งานให้มากที่สุด เช่น การที่ตู้เย็นถูกพัฒนาไปจนถึงขั้นทราบได้ว่าในตู้มีวัตถุดิบอะไรบ้าง จะหมดอายุเมื่อไร และวัตถุดิบนั้นสามารถนำมาประกอบเป็นอาหารอะไรได้บ้าง ข้อมูลนี้อาจแจ้งผลผ่านอุปกรณ์ Smart phone ของผู้ใช้งาน หรือกรณีที่รถยนต์ส่งตำแหน่ง GPS ไปประมวลผลแล้วทราบว่าขณะนี้รถยนต์กำลังจะเดินทางถึงบ้านในอีกสิบห้านาที จึงสื่อสารไปยังอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปิดแอร์ให้เปิดแอร์รอเลย และเมื่อใกล้ถึงบ้านจึงสั่งให้อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปิดประตูอีกครั้งเป็นต้น

จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นว่าอุปกรณ์ทุกชิ้นที่สื่อสารกันอาจจำเป็นต้องมี IP ประจำตัวเพื่อเป็นชื่อสำหรับอ้างอิง เชื่อกันว่า “Internet of Things” จะเป็นตัวผลักดันให้เกิดการใช้ IP มากขึ้น จนทำให้ IP ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันที่เรียกว่า IPV4 อาจไม่เพียงพอกับการใช้งานจึงมีการนำ IP รูปแบบใหม่มาใช้ที่เรียกกันว่า “IPV6” เพื่อให้เลข IP มีมากเพียงพอที่จะนำมาใช้ต่อไปในอนาคต

ทีนี้มาย้อนดูกันว่าส่วนผสมสำคัญสามส่วนที่กล่าวไว้ข้างต้นมีความเป็นมาอย่างไรกันบ้าง

1) อุปกรณ์ Hardware ต่างๆ ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

ในยุคเริ่มแรกมีเพียงคอมพิวเตอร์เท่านั้นที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับโครงข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เนื่องจากการใช้งานยังอยู่ในวงจำกัดมีเพียงคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้นที่สามารถมีคอมพิวเตอร์ใช้ เนื่องจากยุคแรกคอมพิวเตอร์มีราคาที่สูงมาก จากนั้นคอมพิวเตอร์ก็พัฒนาให้มีขนาดที่เล็กลงแต่มีประสิทธิภาพมากขึ้นจนเป็นคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ, คอมพิวเตอร์แล็ปท็อป, คอมพิวเตอร์แบบพกพา PDA, คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า Netbook, คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า Tablet, จนปัจจุบันโทรศัพท์ก็ถูกทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นจนเสมือนเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปแล้วที่เราเรียกว่า Smart phone แถมราคาก็ยังถูกลงไปมากจึงง่ายกับการที่จะหาไว้ใช้สักเครื่องได้ไม่ยากนัก เนื่องจากเป็นยุคที่ผู้ผลิตอุปกรณ์มีการแข่งขันกันค่อนข้างสูงประกอบกับเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตมีการพัฒนาไปมากแล้ว ตอนนี้อุปกรณ์ที่จะพาเราสู่โลกอินเทอร์เน็ตพร้อมแล้วไปดูกันต่อเลยครับ

2) ช่องทางในการใช้งานอินเทอร์เน็ตและโครงสร้างพื้นฐาน

อินเทอร์เน็ตเริ่มแรกในการให้บริการถูกสร้างมาเพื่อใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารทางทหารเท่านั้น จึงมีการใช้งานอยู่เพียงในวงจำกัด ต่อมาจึงเริ่มขยายโดยการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จำนวนมากเข้าเป็นโครงข่าย มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการศึกษา

จนเมื่อคอมพิวเตอร์เริ่มมีราคาที่ถูกลงคนทั่วไปสามารถหาซื้อไว้ใช้ได้ อินเทอร์เน็ตจึงเริ่มมีการให้บริการเชิงพาณิชย์ที่จริงจังมากขึ้น เริ่มตั้งแต่การให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านสายทองแดง โดยส่งผ่านคู่สายโทรศัพท์ไปตามบ้านผ่านระบบโทรศัพท์ซึ่งช่วงแรกให้บริการในระดับความเร็วที่ไม่กี่ kbps เท่านั้น การเชื่อมต่อออกต่างประเทศในช่วงแรกก็เชื่อมต่อผ่านดาวเทียมซึ่งขณะนั้นค่าใช้บริการอินเทอร์เน็ตยังแพงอยู่มาก เนื่องจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) มีต้นทุนที่สูงทั้งในการเชื่อมต่อไปต่างประเทศและการสร้างโครงข่ายเพื่อเชื่อมต่อไปยังผู้ใช้บริการ

ณ จุดนี้ CAT ก็เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศตั้งแต่แรก รวมถึงเป็นผู้สร้างโครงข่ายในการเชื่อมต่อออกต่างประเทศ โดยเป็นผู้ร่วมลงทุนในการสร้างระบบเคเบิลใต้น้ำเพื่อเชื่อมต่อไปยังประเทศต่างๆ จะเห็นว่ามีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในส่วนของการเชื่อมต่อออกต่างประเทศแล้ว คือเปลี่ยนจากการเชื่อมต่อผ่านดาวเทียมเป็นเชื่อมต่อผ่านระบบเคเบิลใต้น้ำ จึงทำให้สามารถเชื่อมต่อออกต่างประเทศได้ด้วยความเร็วที่สูงขึ้น และมีค่าใช้บริการต่อหน่วยที่ลดลงค่อนข้างมาก

จากนั้น CAT ก็ลงทุนในระบบเคเบิลอื่นเพิ่มขึ้น เพื่อให้การเชื่อมต่อไปในแต่ละประเทศ มีเส้นทางการเชื่อมต่อที่มากกว่าหนึ่งเส้นทาง ผ่านระบบเคเบิลมากกว่าหนึ่งระบบ ประกอบกับเทคโนโลยีของการสื่อสารที่พัฒนามากขึ้นจึงทำให้คุณภาพของโครงข่ายที่ต่อออกต่างประเทศมีคุณภาพที่สูงขึ้น มี Capacity ให้สามารถใช้ได้มากขึ้นในราคาต่อหน่วยที่ลดลงเรื่อยๆ จากการที่การเชื่อมต่อออกต่างประเทศมีค่าใช้บริการต่อหน่วยที่ลดลง ย่อมส่งผลดีกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศที่มีต้นทุนในส่วนของวงจรต่อออกต่างประเทศที่ลดลง เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ราคาอินเทอร์เน็ตที่เราได้ใช้ลดลงไปด้วย

แต่ถ้าสังเกตดีๆ จะพบว่าผู้ให้บริการส่วนใหญ่เน้นที่จะเพิ่มความเร็วให้แก่ผู้ใช้บริการมากกว่าที่จะลดราคา ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้เราได้ใช้อินเทอร์เน็ตที่เร็วขึ้น ด้วยเทคโนโลยีที่เราเรียกว่า ADSL ช่วยให้เราได้ใช้อินเทอร์เน็ตในความเร็วที่สูงขึ้นผ่านคู่สายโทรศัพท์เดิมที่เราใช้อยู่ ต่อมาก็พัฒนาเป็นการใช้งานผ่านคู่สายไฟเบอร์ออพติค สามารถให้บริการด้วยความเร็วที่สูงขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

เมื่ออุปกรณ์ Smart phone มีราคาที่ถูกลงและมีการใช้งานอย่างแพร่หลายจึงเป็นโอกาสดีที่ ISP จะได้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นผ่าน Smart phone ได้อีกหนึ่งช่องทาง

แต่เมื่อมาถึงจุดหนึ่งที่โครงข่ายหลักต้องมีการเปลี่ยนแปลงจากการให้บริการ IPv4 เป็น IPv6 ถึงแม้ขณะนี้ยังมีการใช้งานไม่แพร่หลายก็ตาม แต่ ISP ทั้งหลายและผู้ให้บริการวงจรที่เชื่อมต่อออกต่างประเทศอย่าง CAT ได้พัฒนาโครงข่ายให้สามารถรองรับการใช้งาน IPv6 ไว้แล้ว ปัจจุบันก็ให้บริการควบคู่กันไปทั้ง IPv4 และ IPv6

ปัจจุบันอัตราค่าใช้บริการอินเทอร์เน็ตมีแนวโน้มที่ต่ำลง และผู้ใช้บริการได้ใช้บริการที่ความเร็วสูงขึ้น เห็นได้จากการที่ปัจจุบัน ISP และผู้ให้บริการโทรศัพท์ทั้งหลายแข่งขันทำโปรโมชั่นต่างๆ เพื่อให้ทั้งราคาและการใช้งานตรงตาม Style ของผู้ใช้มากขึ้น ด้วยความที่ CAT มุ่งมั่นในการพัฒนาวงจรเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศให้ได้คุณภาพด้วยต้นทุนที่เหมาะสม จึงทำให้ ISP รายใหญ่ในประเทศให้ความไว้วางใจใช้บริการจาก CAT เป็นวงจรออกต่างประเทศในระดับ Premium มาอย่างต่อเนื่อง

3) การพัฒนา Application

ในส่วนนี้การเขียนโปรแกรมในระยะแรกต้องเขียนเป็นภาษาเครื่องซึ่งยากต่อการเข้าใจของมนุษย์ การพัฒนาโปรแกรมจึงเป็นไปอย่างช้าๆ ต่อมาเริ่มมีผู้คิดค้นตัวช่วยในการแปลภาษาที่เป็นเสมือนล่ามในการแปลภาษาระหว่างภาษาเครื่องและภาษามนุษย์ จึงทำให้การพัฒนาโปรแกรมสะดวกมากขึ้น ง่ายกับการศึกษาให้เข้าใจมากขึ้น แต่โปรแกรมส่วนใหญ่ก็ยังใช้อยู่แต่ในเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่อยู่ที่ว่าจะติดตั้งลงบนเครื่อง Server หรือเครื่อง Client

ต่อมาเมื่อ Smart phone เริ่มเป็นที่นิยมและราคาถูกลง อีกทั้งเครื่องมือในการพัฒนาโปรแกรมอำนวยความสะดวกแก่ผู้เขียนโปรแกรมขึ้นมาก เห็นได้จากปัจจุบันมี App ต่างๆ ให้ Download ใช้งานมากมายทั้งฟรีและเสียเงิน

เทคโนโลยีทั้งสามส่วนในวันนี้ถือว่าได้ถูกพัฒนามาจนถึงจุดที่เหมาะสมและลงตัว จนพร้อมที่จะให้บริการแก่ผู้ใช้บริการได้ในค่าใช้บริการที่เหมาะสมแล้ว

CAT ผู้ให้บริการในส่วนของช่องทางในการใช้งานอินเทอร์เน็ต หรือวงจรสำหรับเชื่อมต่อระหว่างองค์กร ทั้งการเชื่อมต่อภายในประเทศหรือระหว่างประเทศ วันนี้เราพร้อมที่จะร่วมเป็นหนึ่งในการสนับสนุนให้ผู้ใช้บริการ ที่มีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายภาครัฐที่จะขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่สังคมดิจิตอลเช่นกัน

ปัจจุบัน CAT ได้ดำเนินการสร้างโครงข่ายสื่อสารข้อมูลเพื่อรองรับการใช้งานของสังคมดิจิตอล อย่างครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ และยังขยายโครงข่ายไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลกอย่างครอบคลุม โดยการเชื่อมต่อตรงผ่านระบบเคเบิลใต้น้ำ ไปยังประเทศปลายทางที่มี Content สำคัญๆ ตั้งอยู่ทั่วโลก อีกทั้งได้พัฒนาให้โครงข่ายสามารถรองรับการใช้งานได้ทั้งระบบ IPv4 และ IPv6

Blognone Jobs Premium