เมื่อพูดถึงสมาร์ทโฟนแบบโมดูล ย่อมนึกถึง Project Ara ของกูเกิล ที่ล่าสุดถึงแม้จะถูกปิดโครงการไปแล้ว แต่ก็พอจะถือได้ว่าก่อให้เกิดการพูดถึงสมาร์ทโฟนแบบที่ถอดเปลี่ยนชิ้นส่วนได้นี้บ้างไม่มากก็นอก และก็ถูกนำออกมาวางจำหน่ายอยู่บ้างแต่ก็ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักและพูดถึงกันมากนัก
เช่นเดียวกับโมโตโรลาที่แนวคิดสมาร์ทโฟนแบบโมดูลมาพัฒนาสมาร์ทโฟนตระกูลเรือธงของปีนี้อย่าง Moto Z จนกลายมาเป็นอุปกรณ์เสริมสารพัดในชื่อ MotoMods และทำให้แบรนด์โมโตโรลากลับมาเป็นที่พูดถึงมากขึ้นอีกครั้ง ซึ่ง Moto Z Play ที่จะรีวิวในบทความนี้ เป็นน้องรุ่นเล็กสุด ที่มีจุดเด่นเรื่องการใช้งานแบตเตอรี่ที่อึดและนานที่สุด
รูปร่างหน้าตาของ Moto Z Play แทบไม่แตกต่างจาก Moto G4 ตัวกรอบเป็นอะลูมิเนียม ด้านบนเป็นลำโพง กล้องหน้าพร้อมแฟลช LED และเซ็นเซอร์ Proximity และ Ambient Light
ด้านล่างของตัวเครื่องมีเพียงเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือและไมโครโฟนเท่านั้น ลำโพงถูกย้ายเอาไปไว้ด้านบนตำแหน่งเดียวกับลำโพงของโทรศัพท์ พร้อมพอร์ต USB-C และ 3.5mm. สำหรับหูฟังที่ไม่มีในรุ่นใหญ่ทั้ง Moto Z และ Moto Z Force
ด้านขวาของตัวเครื่องเป็นปุ่มเพิ่ม-ลดเสียงและล็อคหน้าจอ ซึ่งคราวนี้ทางโมโตโรลาได้ย้ายปุ่มล็อคหน้าจอ จากเดินที่อยู่ด้านบนของปุ่มเสียง เอามาไว้ด้านล่างแทน แต่ก็ไม่เป็นปัญหาในการใช้งานมากนัก เพราะไม่ว่าจะล็อคหรือปลดล็อคหน้าจอก็สามารถใช้งานเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือได้หมด
ส่วนด้านบนเป็นถาดใส่ซิม ซึ่งรองรับ 2 ซิมและ microSD ขณะที่รูเล็กๆ อีกด้านเป็นไมโครโฟนสำหรับถ่ายวิดีโอ
ด้านหลังของตัวเครื่องเป็นกระจก ขณะที่ตัวกล้อง นูนขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัดเจน แต่ที่ทำให้นูนก็เพื่อรองรับกรอบฝาหลังอย่าง Moto Shells ซึ่งถอดเปลี่ยนได้และเป็นส่วนหนึ่งของ MotoMods
เมื่อใส่ Moto Shells แล้วจะแนบสนิทกับความนูนของกล้องเลย
ฝาหลังด้านล่างเป็นขั้วทองแดงพร้อมด้วยแม่เหล็กแรงสูง สำหรับเชื่อมต่อกับ MotoMods ต่างๆ
ตัวเครื่องของ Moto Z Play มีความหนาราว 7 มิลลิเมตร ซึ่งถือว่าหนาที่สุดในซีรีส์ (Moto Z บางเพียง 5.2 มม.) แต่ในการใช้งานจริง ค่อนข้างบาง ทำให้จับลำบากเล็กน้อย แต่เมื่อใส่ MotoShells เข้ามาแล้วทำสามารถจับตัวเครื่องได้เต็มได้เต็มมือมากยิ่งขึ้น
ซอฟต์แวร์ของ Moto Z Play เป็นเพียวแอนดรอยด์ มาพร้อมกับเวอร์ชัน 6.0.1 ทำให้ได้รับประสบการณ์การใช้งานแอนดรอยด์โดยตรงจากกูเกิล และที่สำคัญคือได้รับอัพเดตเป็นแอนดรอยด์ Nougat แน่นอน
ส่วนแอพของโมโตโรลาเอง ใส่เข้ามาเพียง 3 ตัวคือ Moto Actions, Moto Voice และ Moto Display
สำหรับ Moto Actions เป็นการใช้ gesture ต่างๆ เพื่อเปิดหรือปิดฟังก์ชันบางอย่างบน Moto Z Play ซึ่งที่ใช้งานหลักๆ ก็มี
- บิดข้อมือ (twist) 2 ครั้งเพื่อเปิดกล้อง
- ถือ Moto Z Play ในแนวตั้งแล้วโยกขึ้นลง 2 ครั้งในท่าเหมือนสับหมู (chop) เพื่อเปิดหรือปิดไฟฉาย
- ลากนิ้วจากแถบ Navigation Bar ด้านล่างขึ้น เพื่อย่อขนาดหน้าจอให้มีขนาดเล็กลง สำหรับใช้งานมือเดียว และกดหน้าจอส่วนสีดำ 2 ครั้ง เพื่อคืนหน้าจอให้กลับมาใหญ่เหมือนเดิม
สำหรับ Moto Voice เมื่อเปิดเราสามารถใช้คำสั่งเสียงเรียก Google Now ขึ้นมาได้ตลอดเวลา ด้วยคำพูดเช่น Ok, Moto หรือ Hello, Moto ซึ่งเราสามารถเปลี่ยนคำพูดได้
และ Moto Display จะเป็นหน้าจอแสดง notification ตอนหน้าจอถูกล็อค ซึ่งจะแสดงผลเมื่อมีการแจ้งเตือนเข้ามาจากแอพที่เราตั้งไว้ เราสามารถเปิดแอพจากการแจ้งเตือนนั้น หรือลบการแจ้งเตือนทิ้งไปได้เลย นอกจากนี้จะแสดงผลเมื่อเราหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาด้วย เนื่องจากทำงานร่วมกับเซ็นเซอร์ accelerometer, ambient light และ proximity
Moto Z Play มาในหน้าจอขนาด 5.5 นิ้ว ความละเอียด FullHD รอบนี้กลับมาใช้หน้าจอแบบ AMOLED อีกครั้ง ทำให้หน้าจอมีความสดใส สามารถสู้แดดกลางแจ้งได้สบาย รวมถึงสามารถแสดงผลในที่มืดได้ค่อนข้างสบายตา
Moto Z Play รันด้วยซีพียู Snapdragon 625 ช่วยประหยัดพลังงาน แต่ยังคงไว้ซึ่งความเร็วในการประมวลผล สามารถใช้งานแอพต่างๆ ได้อย่างไหลลื่น ไม่ว่าจะใช้งานทั่วไปหรือเล่นเกมกราฟิกหนักๆ
ส่วนการเบนช์มาร์คนั้น ถึงแม้คะแนน Moto Z จะไม่สูงมาก แต่อย่างที่กล่าวไปว่าเพียงพอต่อการใช้งานทั่วไปหรือแม้แต่เกมได้โดยไม่มีสะดุดแล้ว
นอกจากนี้ Moto Z Play ยังมาพร้อม nano-coating ของโมโตโรลาที่มีมาให้ตั้งแต่ Moto X รุ่นแรก ช่วยกันน้ำกระเด็น น้ำสาดหรือน้ำหกใส่ได้ เพียงแต่ว่าไม่สามารถจุ่มลงน้ำได้
อีกหนึ่งจุดเด่นของ Moto Z Play คือแบตเตอรี่ที่อึดที่สุดในกลุ่มด้วยความจุถึง 3,510 mAh สามารถใช้งานได้ยาวๆ ตลอดทั้งวัน อย่างส่วนตัวผมเล่นเฟซบุ๊ก ไลน์ ดู YouTube เล่น Pokemon GO ประปรายทั้งวัน ยังพอเหลือแบตเตอรี่ประมาณ 20-30% เวลากลับบ้าน เสียดายไลฟ์สไตล์ไม่ได้เป็นคนใช้งานแบตเตอรี่อย่างหนักหน่วง เลยไม่สามารถบอกไว้ว่าหากใช้งานแบบ hard user แล้วจะอยู่ได้นานแค่ไหน
ที่สำคัญคือ Moto Z Play รองรับ TurboCharging ใช้เวลาราว 15-20 นาที ได้แบตเตอรี่คืนมาราว 30-40% สามารถใช้งานต่อได้อีกสูงสุดถึง 10 ชั่วโมง
เรือธงคราวนี้ของโมโตโรลามาพร้อมกับเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือแล้ว ต้องบอกว่าค่อนข้างเร็วและแม่นยำ จนหลายๆ ครั้งเร็วเกินไปด้วยซ้ำ อย่างเช่นตอนเอาสมาร์ทโฟนใส่ไว้ที่กระเป๋ากางเกงและไปโดนช่วงต้นขา เซ็นเซอร์ก็จะทำงานและขึ้นเตือนว่าไม่พบลายนิ้วมือ
สิ่งที่ส่วนตัวผมชอบที่สุดคือเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือของ Moto Z Play สามารถใช้ล็อคหน้าจอได้ด้วย ด้วยการกดค้างเอาไว้เล็กน้อย ใช้นิ้วไหนล็อคก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นนิ้วที่มีลายนิ้วมือเสมอไป
กล้องหลังของ Moto Z Play มีความละเอียดที่ 16 ล้านพิกเซล พร้อมเลเซอร์ช่วยโฟกัสและ PDAF ช่วยให้จับภาพได้ค่อนข้างไว ขณะเดียวกันแอพกล้องของ Moto Z Play ก็เป็นแอพของโมโตโรลาเอง ที่รองรับการถ่ายโหมดโปร สามารถปรับ WB, ISO, Speed Shutter และรูรับแสงเองได้ พร้อมโหมดพาโนรามาให้ด้วย
การถ่ายภาพตอนกลางวันแทบไม่มีปัญหาใดๆ สำหรับ Moto Z Play แต่สำหรับกลางคืนอาจจะมีอุปสรรคเล็กน้อยเพราะไม่มี OIS มาให้ อาจจะต้องหาที่ตั้งมาช่วยหากต้องการถ่ายภาพในพื้นที่ที่แสงน้อยมากๆ แต่โดยรวมแล้ว ภาพที่ออกมาก็ถือว่าน่าพอใจ
ส่วนกล้องหน้าถึงแม้จะไม่ได้โดดเด่นมากมาย แต่แฟลช LCD ที่ให้มาด้วย เมื่อถ่ายออกมาถือว่าน่าพอใจ แสงไม่ได้สว่างเกินแม้ถ่ายในที่มืดมากๆ ก็ตาม
ความโดดเด่นและสิ่งที่ถูกพูดถึงที่สุดของ Moto Z คงหนีไม่พ้น MotoMods หรืออุปกรณ์เสริมสารพัดอย่างที่โมโตโรลาไปจับมือกับพาร์ทเนอร์ โดย MotoMods ที่วางขายในประเทศไทยประกอบไปด้วย
ด้านหลังของโปรเจ็คเตอร์เป็นเป็นพัดลมระบายความร้อน (มีเสียงเล็กน้อยเมื่อเปิดใช้งาน) ด้านหน้าเป็นปุ่มเปิด/ปิด ซึ่งเมื่อเปิดโปรเจคเตอร์จะฉายหน้าจอบนสมาร์ทโฟนที่เราเปิดค้างไว้อยู่ทันที ไม่ว่าจะแนวตั้งหรือแนวนอน โปรเจคเตอร์ก็จะฉายตามนั้น
ด้านข้างของหลอดไฟเป็นตัวปรับโฟกัส ซึ่งโดยตัวโปรเจ็คเตอร์จะปรับมาให้แล้วนะดับหนึ่ง ทั้งโฟกัสและระดับองศาของจอภาพให้อัตโนมัติ
ส่วนอีกด้านเป็นพอร์ต USB-C กรณีต้องการชาร์จแบตเตอรี่แยกจากสมาร์ทโฟน
การใช้งาน Insta-share Projector ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดอาจจะต้องฉายในห้องมืดสนิท และฉายบนฉากผ้าสีขาว อย่างไรก็ตามตัวโปรเจ็คเตอร์ไม่มีลำโพงมาให้ การชมภาพยนตร์อาจจะต้องใช้ลำโพงของ Moto Z Play หรือต่อลำโพงบลูทูธเอา
MotoMods ทุกตัวจะเหมือนกันคือมีแผงขั้วทองแดงสำหรับเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน พร้อมทั้งแม่เหล็กตรงกลาง ช่วยดูดให้ MotoMods ติดเข้ากับสมาร์ทโฟนเมื่อเอาไปจ่อใกล้ๆ และที่สำคัญคือช่วยให้ไม่หลุด
Insta-Share Projector วางจำหน่ายในราคา 12,990 บาท
เรียกได้ว่าเป็นพัฒนาการที่ก้าวกระโดดจาก Moto X Play ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะเรื่องของหน้าจอที่กลับมาใช้แบบ AMOLED (Moto X Play เป็น LCD), เซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือที่ทั้งเร็วและสามารถใช้ล็อคหน้าจอได้ในตัว โดยไม่ต้องยุ่งกับปุ่มล็อคเลย และที่สำคัญคือ MotoMods ที่ช่วยเพิ่มมิติให้กับการใช้งาน Moto Z Play มากขึ้น โดยเฉพาะ Moto Shell ที่มีตัวเลือกหลากหลายและเปลี่ยนได้ ไม่นับความอึดของแบตเตอรี่ที่ยังคงสืบทอดมาจาก Moto X Play ไม่เสื่อมคลาย
Moto Z Play วางจำหน่ายในราคา 15,900 บาท สามารถหาซื้อได้ทั้ง True Shop, JayMart และ TG Fone สาขาที่ร่วมรายการ