ความคืบหน้าเรือฟริเกตและเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำใหม่ของทร.ไทย Safran ทดสอบระบบนำทางเฉี่อยสำหรับจรวด Harpoon

by superboy
21 October 2016 - 03:18
    Safran Electronics & Defense ประสบความสำร็จในการทดสอบระบบนำทางเฉื่อย Sigma 40 shipborne navigation system ซึ่งจะใช้ควบคู่กับจรวดต่อสู้เรือรบ Harpoon ที่ติดตั้งบนเรือฟริเกตลำใหม่ของกองทัพเรือไทย ซึ่งสร้างโดยอู่ต่อเรือเกาหลีใต้ รวมทั้งเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้นกระบี่ลำที่ 2 ซึ่งสร้างเองในประเทศอีกด้วย


 ภายใต้สัญญาที่อู่ต่อเรือ DSME ทำกับกองทัพเรือไทย จะเหมือนการจัดหาระบบอื่น ๆ บนเรือนั่นแหละครับ นั่นคือเราจ่ายเงินอย่างเดียวจบ โดยที่ DSME จัดการทุกอย่างให้เอง การทดสอบครั้งนี้เป็นแบบ integration tests ด้วยการติดตั้งอุปกรณ์ทั้งหมดเข้าด้วยกันจริง ๆ แล้วทดลองใช้งานจริงบนเรือ โดยเป็นการทำงานร่วมกับบริษัท Boeing ซึ่งเป็นเจ้าของจรวดต่อสู้เรือรบ Harpoon ทำให้มั่นใจได้ว่าระบบสามารถใช้งานได้จริงโดยไม่มีปัญหาติดขัด

     ระบบนำทางเฉื่อย Sigma 40 inertial navigation systems ใช้ระบบไจโรแบบ ring laser gyro (RLG) inertial core มีความแม่นยำในการนำทางสูง มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน มีขนาดกะทัดรัด ใช้งานง่าย ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ปรับขนาดได้ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบตรวจจับ รวมทั้งระบบป้องกันตนเองบนเรือรบ

เป็นข่าวที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนนะครับ จึงน่าจะเป็นการเปิดเผยข้อมูลใหม่ของเรือฟริเกตและเรือ OPV เพิ่มเติมมากขึ้น ทำให้มองภาพรวมได้ชัดเจนมากกว่าเดิม Sigma 40 เป็นระบบนำทางเฉื่อยที่ได้รับความนิยมมานานพอสมควรคือ 20 ปี ติดตั้งอยู่บนเรือรบจำนวนมาก ประกอบไปด้วยเรือผิวน้ำจำนวนมากกว่า 500 ลำ และเรือดำน้ำจำนวนมากกว่า 75 ลำ อาทิเช่น เรือฟริเกตชั้น FREMM และ Horizon ของอิตาลีและฝรั่งเศส เรือสนับสนุนการยกพลขึ้นบกชั้น Dokdo ของเกาหลีใต้ รวมทั้งเรือดำน้ำโจมตีชั้น Scorpène ของมาเลเซียและอินเดีย


ถ้าพูดว่าบริษัท Safran Electronics & Defense คงไม่รู้จักกันซักเท่าไหร่ แต่ถ้าพูดว่าบริษัท Sagem น่าจะคุ้นเคยกันมากขึ้นนะครับ นอกจากระบบนำทางเฉื่อยรุ่น Sigma 40 แล้ว พวกเขายังมีผลิตภัณฑ์รุ่น Sigma 95 สำหรับใช้งานบนอากาศยานอีกด้วย ไม่ทราบเหมือนกันว่ากองทัพอากาศไทยมีใช้งานบ้างหรือเปล่านะครับ 

ที่มา - navyrecognition.com

Blognone Jobs Premium