บทสัมภาษณ์ The Verge: การเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ในอายุ 5 ปี

by twometre
7 November 2016 - 14:22

ใครที่ติดตามข่าวสารเชิงเทคโนโลยีคงรู้จัก The Verge เว็บไซต์แห่งนี้เพิ่งครบรอบ 5 ปีไปเมื่อวันก่อน และในขณะเดียวกันก็รีลอนช์ตัวเองในภาพลักษณ์ใหม่ เปลี่ยนอัตลักษณ์แบรนด์และวิธีนำเสนอ NiemanLab สถาบันวิจัยสื่อของฮาร์วาร์ดมีโอกาสได้จับเข่าคุยกับ Nilay Patel บรรณาธิการอำนวยการของ The Verge คนปัจจุบัน และทีมงาน ได้มุมมองที่น่าสนใจจึงขอเล่าต่อ ณ ที่นี้

เปิดทางให้เสพจากอุปกรณ์มือถือได้สะดวกขึ้น

Nilay เล่าว่า Verge เปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 2011 ซึ่งยอมรับแม้จะเป็นการออกแบบหน้าเว็บไซต์ที่ล้ำหน้านำสมัย แต่ก็ยังอิงพื้นฐานของหน้าจอเดสก์ท็อปเป็นหลัก แต่เทรนด์เปลี่ยนไป คนเข้าหาเว็บไซต์จากหลากหลายช่องทาง แนวทางของเขาจึงยังคงเน้นการนำเสนอให้สวยงามเหมือนเดิม สะอาดตาขึ้น และก็พร้อมขยายการแสดงผลให้รองรับเทคนิคใหม่ๆ อย่าง Instant Article (ของ Facebook) และ AMP (ของ Google) รวมถึงยังมีคอนเทนต์วิดีโอ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ต้องโหลดและเรนเดอร์ไวบนหน้าจอมือถือ

เนื้อหาเหมือนกับเจ้าอื่นๆ จะสร้างความแตกต่างยังไง

ด้วยความเนื้อหาเชิงเทคโนโลยีและวัฒนธรรมก็เริ่มมีผู้เล่นแนวเดียวกันมากขึ้น Nilay แจงว่าทั้งอุตสาหกรรมกำลังมุ่งหาวิธีการจัดการและปล่อยเนื้อหาลงเว็บ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย สิ่งที่ Verge พยายามทำคือเสาะหาประเด็นใหญ่ทั้งด้านเทคโนโลยีและวัฒนธรรม และการหยิบจับมาเปรียบเทียบระหว่างสองสิ่ง เขาเล่าว่าเขามีทีมที่เป็นตัวกลั่นด้านนี้ ทั้งระบุว่ามีไม่กี่องค์กรเท่านั้นที่ทีมเขียนและวิดีโอทำงานประสานกันแนบชิดระดับนี้ และโชว์กราฟจำนวนยอดวิวในไตรมาสที่สามของปีนี้และปีก่อน วิดีโอวิวมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว และการรีแบรนด์ครั้งนี้ก็ปรับลุคของกราฟิกทั้งหมดทั้งบน YouTube, Instagram และบน Facebook

คอนเทนต์ต้องเป็นที่จดจำ

คนของ Nieman ถามว่า Verge ปล่อยคอนเทนต์ลงบนโซเชียลมีเดียโดยตรง ทำอย่างไรถึงจะเป็นที่โดดเด่นท่ามกลางนิวส์ฟีดที่ต่างคนก็พูดเรื่องเดียวกัน Verge ตอบว่าคอนเทนต์ต้องทำให้เป็นที่จดจำให้ง่ายและเร็วที่สุด (อย่างใน Facebook ก็ต้องเอาคนให้ดูต่อภายใน 3 วินาทีแรก) งานดีไซน์ด้านแบรนด์จึงมีบทบาทมาก และทุกวันนี้ก็กำลังทดลองวิธีเล่าเรื่องแบบใหม่ๆ อยู่ ทั้งการหยิบยืมไอเดียจากหนังเงียบ โมชั่นกราฟิกแบบนิยายภาพ

งานทดลองใหม่ Circuit Breaker ไปได้ดี

คอนเทนต์ของ Verge ที่เปิดเพจ Facebook ใหม่ในชื่อ Circuit Breaker ไว้ปล่อยคอนเทนต์แนวบล็อกว่าด้วยแก็ดเจ็ตของเว็บลงบนพื้นที่นี้ล้วน ผ่านไปครึ่งปีมีคนตามแล้วกว่าครึ่งล้าน ซึงได้อานิสงส์จากการทำวิดีโอแบบ native ลงบน Facebook โดยตรง และทำคอนเทนต์แบบแปลกๆ เช่น "คลิปฟังเสียงคีย์แบบแมคานิคอลรัวๆ ยาว 60 วินาที" หรือ "มาดูกันว่าเสื้อโค้ทตัวนี้ซ่อนแก็ดเจ็ตไว้ได้ทั้งหมดกี่ชิ้นกันนะ?" รวมถึงวิดีโอแบบไลฟ์ ที่เป็นรายการสดให้ผู้ชมบน Facebook โทรเข้ามาในรายการเพื่อตอบคำถาม ไม่ใช่ปัญหาไอที แต่เป็นเชิงปลุกอารมณ์ ให้กำลังใจ ซึ่งจะดูเกรียน กว่าความเป็น Verge ตรงๆ

Circuit Breaker ของ The Verge

เสาของคอนเทนต์

นอกจากเรื่องเทคโนโลยี Verge ยังแผ่คลุมเนื้อหาด้านอื่นที่เทคโนโลยีเข้าไปมีอิทธิพล เช่นเรื่องวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม (ว่าด้วยเรื่องสื่อบันเทิง ศิลปะ เทรนด์ มีม) โลกยานยนต์-การขนส่งด้วย

ด้านความท้าทายที่พบ Verge มองว่าเป็นเรื่องของกลยุทธ์ด้านวิดีโอ ที่จะเริ่มพิจารณาให้ YouTube เป็นเพลเยอร์หลัก แต่ก็กลัวว่าวันหนึ่งแพลตฟอร์มของคนอื่นที่ตัวเองไว้เก็บงานจะหายไป จึงต้องวางแผนดีๆ คาดการณ์ว่าอะไรจะเกิด-จะดับ ทั้ง Verge เห็นช่องทางการบริหารจัดการ Instagram อย่างจริงจัง มีการคัดเลือกภาพขึ้นไปโพสต์สม่ำเสมอ มีเอนเกจเมนต์จากผู้ใช้ไม่ขาดสาย ไม่ใช่พื้นที่แห้งๆ ที่สักแต่ว่ามีไว้ และทั้งทีมเขียนและทีมปล่อยคอนเทนต์ก็เป็นทีมเดียวกัน ทำงานแทนกันได้ จึงเป็นอีกข้อดีที่พร้อมรับทุกการเปลี่ยนแปลง

ยังมีข้อมูลอีกหลายด้านที่น่าสนใจที่บทความนี้ลงไม่ลึก แต่ให้ลิงก์ไปยังข้อเขียนของ Verge เช่น เรื่องโมเดลการทำรายได้ ก็ตามอ่านต่อกันได้ครับ

ที่มา - NiemanLab

Blognone Jobs Premium