สพธอ. เผยแพร่ "ร่าง ประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์ ระยะเวลา และวิธีการปฏิบัติสำหรับการระงับการทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ให้บริการ" ซึ่งมีรายละเอียดว่าด้วยกรรมวิธีในการระงับการทำให้แพร่หลาย (บล็อก) ซึ่งข้อมูล
ข้อสังเกตของร่างประกาศฉบับนี้ อยู่ที่วรรคที่สามและสี่ ของข้อสี่ ซึ่งกล่าวว่า
ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและ สังคมจัดให้มีระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอื่นใดเพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการและเพื่อให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ทําการระงับการทําให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเอง โดยอาจเชื่อมโยงระบบดังกล่าวเข้ากับระบบการระงับการทําให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการในแต่ละรายโดยความยินยอมของผู้ให้บริการก็ได้ แต่ระบบเช่นว่านั้นจะต้องไม่สร้างภาระหรือไปรบกวนหรือส่งผลกระทบกระเทือนต่อผู้ให้บริการและสิทธิอันชอบธรรมของผู้ใช้บริการเกินสมควร
เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบการระงับการทําให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ให้สํานักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่เกิดจากระบบตามวรรคสามไว้ไม่น้อยกว่าห้าปี
า
โดยอาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล จากโครงการไอลอว์ ได้ให้ความเห็นสรุปว่า กระทรวงดิจิทัลฯ จะตั้งศูนย์กลางบล็อกเว็บไซต์ และเชื่อม ISP ให้กระทรวงสั่งลบได้เอง
ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งของร่างประกาศ อยู่ที่วรรคที่สอง ของข้อแปด ซึ่งกล่าวว่า
ในการระงับการทําให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ ให้ดําเนินการด้วยมาตรการทางเทคนิคใดๆ (Technical Measures) ที่ได้มาตรฐานเพื่อให้บังเกิดผลตามคําสั่งศาล
ซึงอาทิตย์ได้ให้ความเห็นว่า "(มาตรการทางเทคนิค)น่าจะตรงกับเรื่องการถอดรหัสลับ SSL (HTTPS) ตามที่ปรากฏอยู่ในเหตุผลการแก้ไขในเอกสารแนบท้ายที่ส่งสนช.เมื่อเม.ย. 2559"
ทั้งนี้ นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีความพยายามในการรวมศูนย์เพื่อการปิดกั้นการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ความพยายามครั้งก่อนปรากฏในรูปแบบของปรากฏการ "ซิงเกิลเกตเวย์" ซึ่งเป็นข่าวเมื่อปีที่แล้ว
ทั้งนี้ สพธอ. ได้จัดงานรับฟังความคิดเห็นร่างประกาศนี้ (พร้อมประกาศอีกสองฉบับ) ในวันพุธที่ 23 พฤศจิกายน 2559 ณ อาคารรัฐสภา ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมงานได้โดยไม่ต้องลงทะเบียน
ที่มา: Facebook ของอาทิตย์