นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดเผยผลวิจัยว่า วัยรุ่นอเมริกันส่วนใหญ่ 82% แยกไม่ออกว่าคอนเทนต์ไหนบนโซเชียลออนไลน์เป็นข่าว คอนเทนต์ไหนเป็นเนื้อหาโฆษณา
นักวิจัยทำการสำรวจวัยรุ่นอเมริกัน 7,804 คน ทั้งที่กำลังศึกษาอยู่ในช่วงชั้นต่างๆ ทั้งมิดเดิลสคูล-ไฮสคูล ให้ผู้ให้การสำรวจประเมินความน่าเชื่อถือของคอนเทนต์ต่างๆ บนทวิตเตอร์ ประเมินว่ารูปภาพที่เห็นนี้น่าเชื่อถือหรือไม่ รวมถึงประเมินคอมเมนต์ใต้ข่าวหรือคอนเทนต์นั้นๆ และแน่นอนว่าคณะวิจัยแทรกคอนเทนต์โฆษณาและข่าวที่ชวนให้เข้าใจผิดเข้าไปด้วย
ผลการสำรวจคือ คนส่วนใหญ่ล้มเหลวในการระบุว่าข่าวใดเป็นเรื่องเท็จข่าวใดเป็นเรื่องจริง โดย 2 ใน 3 ของผู้ให้การสำรวจระบุว่าคอนเทนต์ที่นายธนาคารคนหนึ่งเขียนป็นเรื่องจริง (ทั้งที่เป็นเรื่องที่เขียนขึ้นเพื่อโน้มน้าวใจทางธุรกิจ) และ 40% เชื่อว่าดอกเดซี่ที่พิกลพิการใกล้กับเขตฟุกุชิมะ เป็นผลจากการทดลองนิวเคลียร์ที่นั่นเป็นเรื่องจริง (รูปไม่มีการแทกสถานที่)
นักวิจัยยังระบุว่า เหล่าวัยรุ่นจะสนใจข่าวที่พาดหัวฉูดฉาดและมีรูปภาพประกอบ มากกว่าสนใจว่าตัวแหล่งข่าวมาจากไหน
ที่มา - Quartz