แนวโน้มไอทีในไทยปี 2017 บริษัทเลิกลงทุนไอทีเอง เปลี่ยนมาใช้บริการ Cloud แทน

by sponsored
27 December 2016 - 03:33

ในอดีตการลงทุนด้านไอทีต้องใช้งบประมาณค่อนข้างสูง เพราะผู้ใช้ต้องซื้อระบบเองทั้งหมด มีข้อดีคือ ได้เป็นเจ้าของระบบไอทีทั้งหมด แต่ก็มีข้อเสียคือ ต้องใช้งบประมาณสูงมาก ต้องรับความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และแน่นอนว่ามีแต่องค์กรขนาดใหญ่เท่านั้นที่มีโอกาสได้ใช้ องค์กรขนาดกลางหรือขนาดเล็กหมดสิทธิ์

แต่ด้วยพัฒนาการทางเทคโนโลยี Cloud Computing ที่มีการพัฒนาให้ระบบไอทีไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณการลงทุนสูงอีกต่อไป แต่เปลี่ยนมาเป็นการใช้บริการ เปิดโอกาสให้องค์กรระดับต่างๆ สามารถเข้าถึงบริการได้มากขึ้น และมีค่าใช้จ่ายตามที่ใช้งานจริง

ศิษฏากร อุสันโน รองกรรมการผู้จัดการ Enterprise Systems and Infrastructure Division บริษัท ดาต้าโปร คอมพิวเตอร์ ซิสเต็มส์ จำกัด หรือ DCS หนึ่งในผู้ให้บริการติดตั้งระบบไอทีแบบ Total Enterprise Solutions กล่าวว่า แนวโน้มนี้เกิดขึ้นในต่างประเทศมาหลายปี สำหรับองค์กรในไทยเริ่มหันมาเลือกวิธีนี้กันมากขึ้นเรื่อยๆ และเชื่อว่าจะเป็นเทรนด์ที่มาแรงในปี 2017

เปลี่ยนการลงทุน เป็นการบริการ สบายใจกว่า

ศิษฏากร กล่าวว่า เรื่องของระบบไอทีเดิมมีความเข้าใจว่าต้องใช้การลงทุนสูง และเป็นเรื่องยุ่งยากซับซ้อน แต่ด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้รูปแบบการให้บริการเปลี่ยนไป องค์กต่างๆ ไม่จำเป็นต้องลงทุน แต่เปลี่ยนเป็นการใช้บริการ ซึ่ง DCS เห็นว่านี่คือสิ่งที่เป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย

ในมุมขององค์กรธุรกิจ นี่คือการลดการลงทุนเงินมหาศาล ไม่ต้องมีสินทรัพย์ด้านไอที ที่มีการเปลี่ยนแปลงเร็ว ไม่ต้องทำเรื่องทางบัญชีอยู่เรื่อยๆ การเปลี่ยนมาใช้ใช้บริการแทน ค่าใช้จ่ายก็สามาถนำมาหักภาษีได้ โดยที่องค์กรธุรกิจยังใช้งานระบบไอทีทั้งหมดเต็มประสิทธิภาพเหมือนเดิม

ประโยชน์อีกด้านหนึ่งที่หลายฝ่ายมักจะมองข้ามคือ บุคลากรด้านไอทีมีความต้องการในตลาดสูง และยังขาดแคลนอยู่ การที่องค์กรเลือกลงทุนระบบเอง จำเป็นต้องหาบุคลากรที่มีความสามารถมาบริหารจัดการดูแลระบบเองทั้งหมด จะเกิดเป็นค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรที่คาดไม่ถึงขึ้น

“อัตราการเปลี่ยนงาน หรือ Turnover ในบุคลากรไอทีมีสูง องค์กรอาจต้องหาพนักงานใหม่เป็นประจำ และยังต้องพัฒนาความรู้ใหม่ๆ ตลอดเพื่อให้ทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง นี่คืออุปสรรคของระบบไอทีแบบเดิม ดังนั้นถ้าเปลี่ยนการลงทุน เป็นการใช้บริการ ยกระบบไอทีมาให้ DCS ดูแลทั้งหมด สบายใจกว่า” ศิษฏากร กล่าว

ธุรกิจทุกขนาด หมดห่วงเรื่องคน เดินหน้าธุรกิจเต็มตัว

การให้บริการระบบไอที ช่วยให้องค์กรใหญ่ไม่ต้องลงทุนสูง และช่วยให้องค์กรขนาดกลาง - เล็ก เข้าถึงการใช้งานไอทีได้มากขึ้น ซึ่งกลุ่มที่เปลี่ยนมาใช้บริการอย่างเห็นได้ชัด เช่น กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมต่างจังหวัด ซึ่งมีปัญหาเรื่องบุคลากรด้านไอทีหายาก จึงเลือกที่จะ outsource ระบบมาให้บริษัทไอทีจัดการ

ขณะที่ DCS คือผู้ให้บริการติดตั้งระบบไอทีมืออาชีพ ที่มีบุคลากรด้านไอทีระดับวิศวกรกว่า 70% ของพนักงานทั้งหมด เป็นทีมงานที่มีประสบการณ์ มีการฝึกฝนอบรมความรู้และเทคโนโลยีใหม่อย่างต่อเนื่อง

ดังนั้นจึงพร้อมอย่างเต็มที่ในการดูแลและให้บริการลูกค้า

ยิ่ง DCS ทำงานอย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรบริษัทไอทีระดับโลก คือ IBM โดยปัจจุบัน DCS เป็น IBM Premier Business Partner ที่ได้รับการสนับสนุนอย่างดีในการพัฒนาบุคลากรให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เช่น ล่าสุด IBM Watson ซึ่งเป็น Cognitive Technology เป็นการทำงานร่วมกับ Big Data เพื่อให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจ เป็นต้น

ด้วยทักษะของบุคลากรของ DCS และการให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ธุรกิจขององค์กรต่างๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น

มุ่งพัฒนาคน ดูแลลูกค้า เพื่อการเติบโตที่ยั่งยืน

แนวโน้มให้บริการระบบไอที ได้สะท้อนให้เห็นแนวทางการทำงานของ DCS ที่เน้นสร้างความสัมพันธ์ในระยะยาวกับลูกค้าองค์กร เพื่อดูแลและทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการจะให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ หัวใจสำคัญคือ บุคลากรด้านไอที ที่เป็นทรัพยากรหลักของ DCS

การจะดูแลลูกค้าได้ดีนั้น แสดงว่า DCS ต้องใส่ใจดูแล และมีการพัฒนาความรู้ของบุคลากรมาโดยตลอด นี่คือการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน สามารถพัฒนาความรู้เทคโนโลยีที่หลากหลายมากขึ้น ยกระดับมาตรฐานการทำงานได้เทียบเท่ากับบริษัทไอทีในต่างประเทศ

ดังนั้นองค์กรธุรกิจในทุกระดับที่กำลังมองเรื่องระบบไอที แนวโน้มชัดเจนคือ การใช้บริการแทนการลงทุน ซึ่งต้องอาศัยผู้ให้บริการที่มีประสิทธิภาพ และมีบุคลากรที่พร้อมสำหรับรองรับการทำงานร่วมกันในระยะยาว

Blognone Jobs Premium