ทาง AIS เปิดตัวเครือข่าย NB-IoT นับเป็นเครือข่ายสำหรับอุปกรณ์ IoT โดยเฉพาะครั้งแรกๆ ในไทย หลังจากประกาศออกมา ผมก็ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมจากคุณวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการส่วนงานวางแผนและปฏิบัติการส่วนโครงข่ายวิทยุของ AIS ได้ข้อมูลสำหรับธุรกิจหรือแม้แต่เมกเกอร์ที่สนใจจะใช้งานเครือข่ายเหล่านี้เพิ่มเติมจากประกาศก่อนหน้านี้
ข้อมูลเบื้องต้นเครือข่าย NB-IoT เป็นมาตรฐานกลางจาก 3GPP สำหรับการใช้ช่องสัญญาณวิทยุที่ความความกว้างแถบความถี่แคบๆ เพียง 180KHz เครือข่ายผู้ให้บริการสามารถเลือกใช้ช่องสัญญาณร่วมกับบริการ LTE, ช่องสัญญาณแยกเดี่ยว (stand-alone), หรือแม้แต่ไปใช้ช่องสัญญาณที่เคยเป็น guard band ของ LTE ก็ได้เช่นกัน โดยแบนด์วิดท์การส่งข้อมูลจะอยู่ที่อัพโหลด 60kbps และดาวน์โหลด 30kbps
ในฝั่งของเซิร์ฟเวอร์ที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ IoT (Application Server - AS) มาตรฐาน NB-IoT เปิดให้ผู้ให้บริการสามารถเลือกได้ว่าจะเปิดให้บริการเชื่อมต่อไอพีโดยตรงหรือจะเชื่อมต่อผ่านเกตเวย์ของผู้ให้บริการ (Service Capability Exposure Function - SCEF) ทำให้อุปกรณ์ขนาดเล็กไม่ต้องรองรับไอพีด้วยตัวเอง โดย NB-IoT เรียกกระบวนการส่งข้อมูลแบบไม่ใช้ไอพีนี้ว่า Non-IP Data Delivery (NIDD)
NB-IoT เป็นมาตรฐานกลางที่มีผู้ผลิตจำนวนมากสามารถผลิตชิปและอุปกรณ์ที่ทำงานบนเครือข่ายได้ ในอนาคตเมื่อผู้ผลิตมีจำนวนมากอุปกรณ์ก็จะราคาถูกลง
ตอนนี้อยู่ในระดับเปิดบริการไปแล้ว (on service) อย่างไรก็ดี เครือข่าย IoT มีหลายส่วน ได้แก่ ส่วนเครือข่ายที่ตอนนี้เปิดใช้งาน, ส่วนแพลตฟอร์มตอนนี้ก็เปิดใช้งานแล้วเช่นกัน, ยังมีเฉพาะส่วนของชิปเซ็ตอุปกรณ์ที่ตอนนี้ยังอยู่เป็นบอร์ดเดโมอยู่
ตอนนี้อุปกรณ์ LTE ของ AIS พร้อมจะรองรับ NB-IoT อยู่แล้ว เพียงแต่ยังเปิดใช้งานไม่ทั้งหมด เมื่อมีความต้องการในอนาคตก็สามารถเพิ่มพื้นที่ครอบคลุมได้
ตามสเปคของ NB-IoT คือเสาแต่ละต้นจะรองรับอุปกรณ์ได้ถึงหนึ่งแสนตัวที่รัศมี 10 กิโลเมตร แต่เครือข่ายของ AIS มีเสาถี่กว่านั้นอยู่แล้ว เมื่อเปิดใช้งานจริงเราก็อาจจะค่อยๆ เปิดเครือข่าย NB-IoT บนเสาบางส่วนไปก่อนหากมีความต้องการมากขึ้นก็สามารถเพิ่มเสาที่รองรับได้มากขึ้นเรื่อยๆ
ไม่จำเป็น แม้แต่รายเล็กหรือเมกเกอร์ที่อุปกรณ์ไม่เยอะนักก็เข้ามาใช้งานได้ แต่ตอนนี้การเข้าใช้งานยังเป็นการคุยกันทีละรายก่อน
การเชื่อมต่อผ่าน API มาตรฐานของ NB-IoT (เข้าใจว่าหมายถึง NIDD) ตอนนี้อาจจะต้องใช้ฮาร์ดแวร์ที่ทาง AIS ทดสอบแล้วกับเครือข่ายแต่ในอนาคตหากมีผู้ผลิตรายอื่นนำอุปกรณ์เข้ามาก็จะมีตัวเลือกมากขึ้น
ทาง AIS ใช้ NB-IoT บน guard band ทำให้ผู้ใช้ LTE ไม่ได้รับผลกระทบใดๆ
สำหรับเมกเกอร์โดยทั่วไป เราคงต้องรอประกาศในวันพรุ่งนี้ว่าทาง AIS จะเปิดตัวอะไรเพิ่มเติมอีกบ้าง และพัฒนาการของ NB-IoT จะไปได้เร็วแค่ไหน ในอนาคตเราอาจจะซื้อแพ็กเกจสำเร็จสำหรับการสร้างอุปกรณ์จำนวนมากโดยไม่ต้องติดต่อเป็นกรณีเช่นนี้อีก