CERN คอมพิวเตอร์กริดจะเชื่อมนักวิทยาศาสตร์ 7,000 คนเข้าด้วยกัน

by molek
5 October 2008 - 13:27

CERN หลายคนรู้จักในว่าเป็นหน่วยงานที่ควบคุม LHC หรือ Large Hadron Collider หรือชื่อไทยว่าเครื่องเร่งอนุภาค ที่มีหลาย ๆ คนเข้าใจผิดว่าจะมาทำลายโลก ได้ประกาศเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาในการเปิดศูนย์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จะอนุญาตให้นักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกเข้ามาเอาข้อมูลการทดลองที่ยิ่งใหญ่นี้

นักวิทยาศาสตร์จาก 7,000 คนจาก 33 ประเทศได้เชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์จาก CERN เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อวิิเคราะห์ข้อมูลจากเครื่องชนอนุภาคที่ทดสอบไปเมื่อเดือนที่แล้ว

ในขณะการทดลองจริงจะเริ่มปีหน้า นักฟิสิกส์ที่เกี่ยวข้องกับการทดลองจะสามารถจะได้รับข้อมูล real-time มาสู่คอมพิวเตอร์ตัวเองในที่ใดก็ได้ ต้องขอบคุณคอมพิวเตอร์กริด CERN ที่เชื่อมหน่วยประมวลผลกว่า 100,000 processor จากสถาบันการศึกษา 140 แห่งทั่วโลกเข้าด้วยกัน

ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ขนาดยักษ์นี้สร้างขึ้นเพื่อโครงการ LHC ก็จริงแต่ก็ยังสามารถไปใช้งานอื่นได้อีก ซึ่งนักวิจัยอื่นและโครงการอื่นจะได้รับประโยชน์ด้วย คอมพิวเตอร์กริดแห่งนี้สามารถเปิดทางใหม่ ๆ ในการศึกษาวิทยาศาสตร์ที่มีจำนวนข้อมูลมหาศาลที่จะต้องจัดการและต้องการความสามารถที่จะวิเคราะห์มันได้ ซึ่งข้อมูลที่จะได้จาก LHC นั้นจะมากมายมหาศาลเท่าที่เคยมีมาซึ่งยากเกินกว่าจะทำความเข้าใจได้ด้วยเครื่องมือปัจจุบัน

ซึ่งการชนของอนุภาคใน LHC นั้นจะเกิดการชนของอนุภาคโปรตรอนกว่า 600 ล้านอนุภาคชนกันต่อวินาทีและสร้างข้อมูลจำนวน 40 ล้านครั้งต่อวินาที ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกกรองออกด้วยสถานีตรวจจับขนาดยักษ์ 4 แห่งใต้ดิน ข้อมูลที่ได้รับจะได้ประมาณ 700 MB ต่อวินาทีหรือ 15 ล้าน GB ต่อปี ซึ่งเป็นจำนวนมากพอที่จะเขียนลงแผ่นดีวีดีได้ 3 ล้านแผ่นต่อปีหรือสร้างหอคอยซีดีที่สูงกว่าภูเขาเอเวอร์เรสต์ 2 เท่า

เพื่อจะวิเคราะห์ข้อมูลขนาดนั้นได้ นักวิจัยต้องการไม่เพียงต้องการการคำนวณจำนวนมากเท่านั้น แต่ยังรวมถึงรูปแบบใหม่ของการคำนวรวิเคราะห์ด้วย จากที่ CERN เป็นผู้คิด WWW ในปี 1990 ซึ่งทำให้คนสามารถส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เนตได้ คอมพิวเตอร์กริดนี้จะเชื่อมแหล่งทรัพยากรคอมพิวเตอร์เช่นแหล่งเก็บข้อมูลหรือแหล่งประมวลผลเข้าด้วยกัน

CERN มีเพียง 10% ของความสามารถคอมพิวเตอร์กริดที่ต้องการในการทดลอง LHC ซึ่งจะทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถสังเกตการณ์การทดลองได้จากความสามารถของคอมพิวเตอร์ที่เหลือทั้งหมด

ที่มา - reuters.com

Blognone Jobs Premium