วันนึ้เริ่มต้นเขียนรายงานโครงการเพื่อชาติกันหน่อยว่าทีมงานทำไปถึงไหนแล้ว ? สถาปัตยกรรมที่ใช้เป็นอย่างไร ? แนวทางการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ? โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนงานนี้ได้แก่
ระบบนี้แต่ก่อนประมวลผลด้วยโปรแกรมจำลองแบบลำดับชื่อ TUNAMI (Tohoku University Numerical Analysis Model for Investigation of tsunamis) ซึ่งใช้เวลาประมวลผลประมาณ 6-8 ชั่วโมง ปัจจุบันเราสามารถพัฒนาให้ประมวลผลแบบขนานบนคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงด้วยเวลาเพียง 35-40 นาที ทำให้แนวคิดการเตือนภัยล่วงหน้าก่อนที่คลื่นจะเข้าถึงชายฝั่งมีแนวโน้มเป็นจริงได้ (Realtime Simulation)
ปัญหาที่ถือว่าท้าทายไม่แพ้กันคือ ผลจากการจำลองจะได้จำนวนไฟล์ปริมาณมาก และมีขนาดไฟล์โดยประมาณ 30 GB ต่อ การจำลองหนึ่งครั้ง ทำให้การถ่ายโอนไฟล์จากเครื่องคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (ทั้งที่ Tsubame และ Tera) ไปยังเครื่องเซิร์ฟเวอร์สำหรับทำ Visualization เพื่อทำภาพเสมือนจริงสามมิติ และท้ายสุดคือส่งผลลัพธ์ไปยังระบบพอร์ทัลเพื่อออกประกาศเตือนภัยเป็นจะไปไม่ได้เลยในเวลาที่จำกัด เนื่องจากแม้ว่าจะประมวลผลโปรแกรมจำลองแค่ 35-40 นาทีแต่เวลาในการทำภาพเสมือนจริงนั้นยาวนานไม่แพ้กัน
ดังนั้นขณะนี้เราจึงเปลี่ยนกลยุทธ์จากการทำ Visualization แบบลำดับไปเป็นแบบขนานอย่างง่าย ด้วยเห็นผลที่ว่าภาพเสมือนจริงแต่ละภาพไม่ขึ้นต่อกัน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ง่ายมากที่จะจับคู่ 1-50 ภาพต่อ 1 processor ซึ่งตอนนี้กำลังพัฒนาอยู่ครับ
สำหรับการเตือนภัยคลึ่นสึนามิในประเทศไทยเมื่อเกิดแผ่นเดินไหวใต้ท้องทะเล มีระยะเวลาไม่เกิน 90 นาที โดยมีช่วงเวลาดังนี้
ยังมีเรื่องราวของการทำ precomputed database สำหรับฐานข้อมูลการเตือนภัยคลื่นสึนามิล่วงหน้า (อ้างอิงตามรอยแยกของแผ่นเปลือกโลก) ที่จะอัปเดทให้ภายหลังครับ
ปล. คงพูดได้เต็มปากเต็มคำว่า ทีมงาน blognone นี่ใจกว้างดีแท้ ที่ให้ทั้งคนอ่านคนเขียนเข้ามาร่วมหมกมุ่นชุมนุม จนกลายเป็นชุมชนใหญ่โตและมีเหยี่ยวข่าวไอทีที่มีศักยภาพชนิด "ไทยทำไทยใช้ไทยเจริญ" กันเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นข่าวระดับนานาชาติ หรือ ระดับชาติ ก็หาอ่านกันง่ายผ่านเว็บที่นี่ที่เดียว ขอบคุณครับ