การใช้งาน GPS เกิดช่องว่างระหว่างวัย (GPS Divide)

by kaitok
21 November 2008 - 03:36

เราอาจคุ้นเคยกับ ดิจิตอล ดีไวด์ มากันบ้างแล้วพอควร และหากเป็น จีพีเอส ดีไวด์ (GPS Divide) จะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมอเมริกัน

รายงานของบริษัทวิจัยตลาด ABI Research เปิดเผยว่า คนหนุ่มสาวและผู้สูงอายุอเมริกัน ใช้งานอุปกรณ์ จีพีเอส (GPS – global positioning system) แตกต่างกัน โดยผลการวิจัยที่ผ่านมาพบว่า ค่อนข้างมีความชัดเจนสำหรับวัยที่ต่างกันนั้นมิได้เกี่ยวข้องเฉพาะกับประเภทของอุปกรณ์ที่ใช้แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่ยังแตกต่างกันในประเด็นของการใช้งานอีกด้วย

ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจบางส่วนที่ได้รับการเปิดเผยและน่าสนใจขอนำมาสรุปให้ทราบดังนี้

  1. อุปกรณ์จีพีเอส หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “พีเอ็นดี” (PND – portable navigation device) ซึ่งเป็นอุปกรณ์นำทางแบบพกพานั้น อุปกรณ์ที่ใช้งานคล้ายคลึงกันไม่จำกัดวัย แต่หากเป็นอุปกรณ์นำทางประเภทเครื่องโทรศัพท์มือถือหรือพีดีเอที่มีบริการนำทางรวมอยู่ด้วยแล้ว ผู้ใช้งานส่วนใหญ่มีอายุไม่เกิน 35 ปี

  2. คนอเมริกันที่มีวัยต่ำกว่า 45 ปีมีเปอร์เซ็นต์ค่อนข้างสูง ใช้อุปกรณ์ พีเอ็นดี ที่ต่อในแบบทางเดียวและสองทาง

  3. เยาวชนหนุ่มสาวส่วนใหญ่ใช้ดาวน์โหลดข้อมูลทราฟฟิกและค้นหาตำแหน่งที่อยู่ (location-based search)

ปัจจุบัน การใช้ประโยชน์จากระบบนำทางได้ขยายไปยังกลุ่มชนทุกวัยในสังคม และได้กลายเป็นเรื่องสำคัญและได้รับความสนใจจากบรรดาผู้ผลิตอุปกรณ์นำทางเพื่อผลิตอุปกรณ์และ/หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ตอบสนองความต้องการหลากหลายของกลุ่มคนในวัยต่างๆ

นอกจากนี้ ยังได้ทำการสำรวจผ่านออนลายน์เมื่อสิงหาคม 2552 กับผู้ใช้ระบบนำทางในรถยนต์จำนวน 750 ราย เพื่อทราบว่าต้องการใช้ระบบนำทางในรูปแบบใดๆอีกบ้าง รูปลักษณะของเครื่องที่ต้องการ และความพึงพอใจต่อแบรนด์ เป็นต้น

ที่มา - cellular-news

Blognone Jobs Premium