เรื่องที่น้อยคนจะรู้ IBM กับเบื้องหลังพัฒนาการด้านเทคโนโลยีเกษตร อาหาร และคุณภาพชีวิตของไทย

by sponsored
27 November 2017 - 07:03

รู้หรือไม่ว่าบริษัทไอทีที่เรารู้จักกันในปัจจุบันอย่าง IBM เข้ามาทำธุรกิจในไทยครั้งแรก ตั้งแต่ พ.ศ. 2491 เพื่อให้บริการสำรวจสำมะโนการเกษตรและประชากรของประเทศไทย ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยเองก็เริ่มดำเนินการสำรวจข้อมูลเรื่องนี้ด้วย

สำนักงานของ IBM แห่งแรกที่ถนนดินสอ

สำนักงานแห่งที่สองที่ถนนสีลม

ในตอนนั้น ประเทศไทยอยู่ในช่วงของการปฏิรูปการจัดเก็บข้อมูลและการประมวลผลให้ทันสมัยขึ้น ในครั้งนั้นไอบีเอ็มได้นำเครื่อง Punched Card ที่นับว่าเป็นเทคโนโลยีด้านการประมวลผลข้อมูลที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้นเข้ามาเพื่อสนับสนุนการสำรวจสำมะโนการเกษตรและประชากรเป็นครั้งแรกของไทย

หลังจากนั้นเป็นต้นมา IBM ก็อยู่เบื้องหลังการพัฒนาระบบสารสนเทศที่สนับสนุนด้านการเกษตร อาหาร รวมถึงด้านที่เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตมาโดยตลอด

พ.ศ. 2538 IBM เป็นผู้สนับสนุนระบบพยากรณ์อากาศแบบใหม่ของกรมอุตุนิยมวิทยาของประเทศไทย โดยร่วมมือกับ  TOP Group และกรมอุตุนิยมวิทยาของสหราชอาณาจักร นำซูเปอร์คอมพิวเตอร์ IBM Scalable POWERpallel2 หรือ IBM SP2 มาให้กรมอุตุนิยมวิทยาของไทยใช้งาน

พ.ศ. 2547 IBM ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างชุมชนนักวิทยาศาสตร์ของไทย กับศูนย์วิจัยของ IBM ในนวัตกรรมด้านต่างๆ เช่น นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีชีวภาพ RFID ความปลอดภัยด้านอาหารและการตรวจสอบแบบย้อนกลับ

พ.ศ.2553 ไอบีเอ็มประกาศความร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และการสื่อสารแห่งประเทศไทย (CAT)  ช่วยให้เกษตรกร ผู้ส่งออก และผู้ค้าปลีกสามารถปรับปรุงความปลอดภัยของอาหารในระดับโลก และทำให้ผลิตผลด้านการเกษตรของไทยสามารถตรวจสอบย้อนกลับจากแหล่งผลิตไปยังสถานที่จัดจำหน่าย

IBM ยังมีโครงการระดับโลกอีกหลายอย่าง ที่จะช่วยพัฒนาเรื่องเกษตร อาหาร และคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ภายใต้แนวคิดด้านการขยายขีดความสามารถด้าน "ข้อมูล" และ "การประมวลผล"

ข้อมูลยิ่งเยอะ ยิ่งวิเคราะห์ได้แม่นยำ

ปัจจุบัน IBM มีเทคโนโลยีค็อกนิทิฟหรือปัญญาประดิษฐ์ที่ช่วยให้การวิเคราะห์เพื่อวางแผนด้านเกษตรกรรม-สิ่งแวดล้อม มีความแม่นยำ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการมีข้อมูลปริมาณมากพอสำหรับการวิเคราะห์ ซึ่ง IBM ตระหนักถึงความสำคัญของตรงนี้

ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคือการซื้อกิจการ The Weather Company ในปี พ.ศ.2559 เพื่อนำข้อมูลเชิงลึกด้านสภาพอากาศ ของบริษัทด้านพยากรณ์อากาศที่ใหญ๋ที่สุดในโลก มีข้อมูลด้านสภาพอากาศทั่วโลกแบบเรียลไทม์ และเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์ม IoT ที่ใหญ่ที่สุดในโลกมาใช้งาน

ในอีกทาง IBM ก็ร่วมมือกับพันธมิตรในหลายๆ ประเทศ ตัวอย่างเช่น OmniEarth ในการนำข้อมูลสภาพอากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม-ภาพถ่ายทางอากาศจำนวนมหาศาล แก้ปัญหาภัยแล้งที่มักเกิดขึ้นที่รัฐแคลิฟอร์เนีย โดย OmniEarth ได้ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในการถ่ายภาพถ่ายทางอากาศของสระว่ายน้ำ สนามหญ้า ถนนทางเข้าบ้าน และหลังคาบ้าน หลายพันรูป และใช้ IBM Watson Visual Recognition ในการวิเคราะห์ภาพเหล่านั้น เพื่อตรวจดูว่าบ้านใดใช้น้ำมากเกิน มีน้ำรั่ว หรืออาจลืมปิดที่รดน้ำบริเวณสนามหญ้า นอกจากนี้ยังมีการนำเทคโนโลยีลักษณะเดียวกันไปใช้กับธุรกิจประกันภัย

การเชื่อมโยงข้อมูลก็เป็นเรื่องสำคัญ IBM นำข้อมูลสภาพอากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม-ภาพถ่ายทางอากาศ การจัดทำสำมะโนประชากร ข้อมูลรายวันเกี่ยวกับการใช้ที่ดินและทำเลธุรกิจ มากกว่า 2 เทระไบต์ต่อวัน มารวมอยู่เป็นแพลตฟอร์ม PAIRS (Physical Analytics Integrated Data and Repository Services) เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลทั้งหมดเข้าหากัน สามารถค้นหาข้อมูลเชิงพื้นที่ที่ซับซ้อนอย่าง “แสดงพื้นที่เมืองทั้งหมดที่จะมีแดดจัดในช่วง 10 วันต่อจากนี้ และพื้นที่ที่มีความหนาแน่นของประชากรมากกว่า 500 คนต่อตารางไมล์และมีร้านกาแฟ 2 ร้านในระยะ 500 ตารางไมล์” ได้ในเวลารวดเร็วกว่าระบบเดิมๆ 10-100 เท่า

ปัจจุบัน PAIRS ได้ถูกนำมาใช้ในประเทศไทยแล้ว โดยอยู่ในขั้นเริ่มต้นใช้กับพืชเศรษฐกิจของไทย

เทคโนโลยีเหล่านี้ยังถูกนำมาใช้ในการปลูกไวน์ โดย IBM ร่วมกับไร่ไวน์ E&J Gallo Vineyards ทำระบบชลประทานอัจฉริยะ ใช้ข้อมูลจาก The Weather Company ร่วมกับภาพถ่ายจาก NASA และข้อมูลจากเซ็นเซอร์ในดินในไร่ไวน์ นำมาวิเคราะห์ด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ Watson หาว่าพื้นดินมีความชุ่มชื้นที่เหมาะสมขององุ่นหรือไม่ ช่วยรักษาคุณภาพของรสชาติไวน์และช่วยประหยัดค่าน้ำได้ 25%

พลังประมวลผล ยิ่งเยอะยิ่งรวดเร็ว

เมื่อมีข้อมูลมากพอในการวิเคราะห์แล้ว สิ่งที่ตามมาคือพลังประมวลผลที่มากพอ เพื่อให้กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลมีความรวดเร็ว ตอบสนองงานของนักวิจัยได้ทัน

World Community Grid เป็นโครงการที่ IBM ร่วมกับหลายหน่วยงานทางด้านวิทยาศาสตร์ การศึกษาและโครงการช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมชั้นนำของโลก นำเทคโนโลยีกริดคอมพิวเตอร์มาช่วยค้นคว้าวิจัยด้านสาธารณสุข ภัยพิบัติ การบริหารทรัพยากรน้ำและอาหาร โดยนำคอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่ว่างไม่ถูกใช้งานมาช่วยกันประมวลผลในงานวิจัยเหล่านี้ ในประเทศไทย IBM ยังร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต สหยูเนี่ยน และคอมพิวเตอร์ยูเนี่ยน สมัครเข้าเป็นสมาชิก World Community Grid ด้วย

ตัวอย่างการใช้งานพลังประมวลผลเหล่านี้คือ โครงการของ IBM ร่วมกับมหาวิทยาลัยวอชิงตัน พัฒนาสายพันธุ์ข้าวที่มีความแข็งแรงมากขึ้น เพื่อเพิ่มผลผลิตและสารอาหาร โดยอาศัยพลังประมวลผลจาก World Community Grid วิเคราะห์ข้อมูลข้าวที่ระดับอะตอม รันโปรแกรมแบบจำลอง 3 มิติ เพื่อศึกษาโครงสร้างโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบของข้าว เพือดูว่าโปรตีนชนิดใดช่วยเพิ่มผลผลิต หรือป้องกันแมลงศัตรูพืชได้

ในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2547 IBM ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดตัวโครงการไทยกริดพอร์ทัลเพื่อการคิดค้นสูตรยา (Thai Grid Drug Design Portal) โดยนำเครื่อง IBM eServer xSeries มาช่วยประมวลผล รัน simulator เพื่อคัดเลือกสารจากธรรมชาติจำนวนมาก ให้เหลือเฉพาะสารที่มีแนวโน้มออกฤทธิ์สูง เพื่อลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายของนักวิจัยในการทดลองสารเหล่านี้เป็นยาต่อไป

นอกจากเรื่องยาแล้ว IBM ยังร่วมกับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ทำโครงการวิจัยและเก็บข้อมูลด้านจีโนม (Genome) เป็นครั้งแรกของไทย โดยเน้นไปที่โรคมะเร็ง โรคสมองเสื่อม และโรคที่เป็นปัญหาสำคัญอื่นๆ ของประเทศไทย แต่ด้วยปริมาณข้อมูลของจีโนมขนาดใหญ่ถึง 200GB ต่อคน จึงต้องใช้เทคโนโลยีการประมวลผลขั้นสูงเข้าช่วย ซึ่งราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เลือก IBM Power8 for High Performance Computing ที่พัฒนาโดยศูนย์วิจัยของ IBM มาใช้งาน เพื่อลดระยะเวลาการจัดการข้อมูลจำนวนมหาศาลได้เร็วกว่าเดิม 100 เท่า

IBM ยังมีโครงการและเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการสร้างความปลอดภัยด้านอาหาร เช่น ความร่วมมือกับ Walmart และมหาวิทยาลัยชิงหัวของจีน นำเทคโนโลยี blockchain เพื่อบันทึกข้อมูลซัพพลายเชนอาหาร เพื่อติดตามความปลอดภัยของอาหารที่ผู้บริโภคชาวจีนรับประทาน


IBM เพิ่งขยายความร่วมมือด้าน blockchain กับบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านอาหารและค้าปลีกหลายราย เช่น Unilever, Dole, Kroger, Nestle เพื่อนำเทคโนโลยีนี้ไปช่วยเพิ่มความปลอดภัยด้านอาหารตลอดทั้งซัพพลายเชน ซึ่งการนำเทคโนโลยีแบบเดียวกันนี้มาใช้ในประเทศไทย ก็ย่อมจะเกิดประโยชน์อย่างมหาศาลกับผู้บริโภคชาวไทยเช่นกัน

สำหรับเทคโนโลยีการประมวลผลในอนาคตระยะไกล IBM เป็นหนึ่งในบริษัทที่ลงทุนวิจัยด้าน Quantum Computing มายาวนาน เพื่อรองรับความต้องการพลังประมวลผลที่จะเพิ่มทวีคูณอีกหลายเท่าตัว ล่าสุดบริษัทเพิ่งประกาศความสำเร็จในการสร้างคอมพิวเตอร์ต้นแบบขนาด 50 คิวบิต และเตรียมเปิดควอนตัมคอมพิวเตอร์ขนาด 20 คิวบิตให้ลูกค้าทั่วไปใช้งานในเร็วๆ นี้

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของก้าวย่างที่น่าสนใจของยักษ์ใหญ่ IBM ในประเทศไทย ตลอด 65 ปีที่ผ่านมา (ดูเรื่องราวอีกมากมายได้ที่นิทรรศการออนไลน์ครบรอบ 65 ปี ไอบีเอ็ม ประเทศไทย) และเป็นเรื่องน่าจับตาสำหรับก้าวต่อไปของ IBM ที่จะเดินเคียงข้างคนไทยต่อไปในอนาคต

Blognone Jobs Premium