การแสดงผลแบบ 4 สีบนทีวี 4K ได้รับการยอมรับว่าเป็น 4K TV ของแท้หรือไม่

by sponsored
27 November 2017 - 12:57

จากเดิมการแสดงผลสีบนหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือทีวี จะมีเพียงแม่สีอยู่ 3 สีคือ RGB (แดง เขียว น้ำเงิน)เป็นหลัก แต่เมื่อเทคโนโลยีพัฒนามากขึ้น ผู้พัฒนาทีวีก็เพิ่มเข้าสีใหม่ๆ เข้ามานอกเหนือจากแม่สีมาตรฐาน เช่น LG ที่นำเสนอหน้าจอแบบ M+ นำสีขาวเข้ามาผสมกับสีมาตรฐาน เพื่อเพิ่มลูกเล่นเรื่องการแสดงผลและประหยัดพลังงานเข้ามา

อย่างไรก็ตามในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เกิดความเข้าใจผิดกันประปรายว่าทีวี 4K ที่มาพร้อมเทคโนโลยีที่เพิ่มสีเข้ามานอกเหนือจากแม่สี 3 สี ไม่ได้มีความละเอียดถึง 4K ที่แท้จริง เพราะมีเม็ดพิกเซลสีขาวเพิ่มเข้ามา และหากนับเฉพาะเม็ดพิกเซลที่เป็นแม่สีสามสี ความละเอียดของทีวีจะไม่ถึง 4K

บทความนี้จะมาไขความกระจ่างตรงนี้ครับ

รู้จักซับพิกเซล (sub-pixel) พื้นฐานของการแสดงผลบนหน้าจอ

เป็นความเข้าใจผิดของหลายๆ คนที่คิดว่าเม็ดสีหรือพิกเซล 1 พิกเซล เท่ากับการแสดงผลแม่สี 1 สี การแสดงผลครบ 3 สีแบบ RGB ต้องใช้ 3 พิกเซล ซึ่งอันที่จริงแล้วแต่ละสีเป็นเพียงซับพิกเซล (sub-pixel) หรือ พิกเซลย่อยเท่านั้น ดังนั้นการแสดงผลแบบ RGB ใน 1 พิกเซลจะประกอบไปด้วย 3 ซับพิกเซลย่อยคือสีแดง (R) สีเขียว (G) และสีน้ำเงิน (B)

เทคโนโลยีการแสดงผลหน้าจอแบบ M+ ใหม่เพิ่มซับพิกเซลสีขาว

ขณะที่โครงสร้างการแสดงผลแบบ RGB ประกอบไปด้วย 3 สีหลัก เทคโนโลยีการแสดงผลแบบ M+ ของ LG จึงเป็นโครงสร้างพิกเซลแบบใหม่ที่เพิ่มซับพิกเซลสีขาวเข้ามา ทำให้ใน 1 พิกเซล ประกอบไปด้วยซับพิกเซล 4 สีได้แก่ สีแดง (R) สีเขียว (G) สีน้ำเงิน (B) และสีขาว (W) หรือเรียกสั้นๆ ว่า RGBW

RGBW มีความแตกต่างจาก RGB ตรงที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกระจายแสง ปรับค่าคอนทราสต์ ทีวีจึงสามารถแสดงผลภาพได้สว่าง แม่นยำและสมจริงมากยิ่งขึ้น

โครงสร้างพิกเซลแบบ RGBW ยังช่วยประหยัดพลังงานมากกว่า RGB ถึง 35% เนื่องจากซับพิกเซลสีขาว จะเข้ามาช่วยเรื่องความส่ว่าง ทำให้พิกเซลเปล่งแสงน้อยลง แต่สามารถให้ความสว่างได้เท่าเดิม ไปจนถึงแสดงคอนทราสต์ระหว่างสีขาวและสีอื่นๆ ได้ดีกว่า และที่สำคัญรองรับการแสดงผลแบบ HDR ด้วย

เทคโนโลยีการแสดงผลแบบ M+ ยังมาพร้อมกับพาแนล In-Plane Switching หรือ IPS ที่จัดเรียงซับพิกเซลในแนวนอน ช่วยได้มุมมองที่กว้างกว่าจอที่จัดเรียงแบบแนวตั้งหรือ Vertical Alignment (VA) และรับชมได้คมชัดไม่ว่าจะมองจากมุมไหนของห้อง

LG UHD TV ก็ยังคงเป็นทีวีความละเอียด 4K

ทีวีความละเอียด 4K และ UHD มีความละเอียดที่ 8.29 ล้านพิกเซล (3,840 x 2,160 พิกเซล) ในขณะที่แต่ละพิกเซลประกอบไปด้วยซับพิกเซลย่อย ดังนั้นไม่ว่าการจัดเรียงโครงสร้างพิกเซลจะเป็นแบบ RGB หรือ RGBW ทีวีความละเอียด 4K ก็ยังคงมีความละเอียด 4K ที่ 8.29 ล้านพิกเซลเช่นเดิม ด้วยเหตุผลที่ว่ามา ทีวี LG UHD TV จึงเป็นทีวีความละเอียด 4K จริงแท้แน่นอน

ไม่เพียงเท่านั้น LG UHD TV ที่ใช้เทคโนโลยี M+ ยังได้รับการรับรองจากสถาบันระดับโลก ไม่ว่าจะเป็น VDE, Intertek, International Committee for Display Metrology (ICM) และ CSI เป็นต้น

สรุป

ทีวีความละเอียด 4K ไม่ว่าจะใช้รูปแบบการจัดเรียงพิกเซลแบบไหน ก็ยังคงมีความละเอียดจริงๆ ที่ 4K หรือ 4 เท่าของ Full HD อยู่นั่นเอง ขณะที่การจัดเรียงพิกเซลแบบ M+ ของ LG ไม่เพียงแต่ช่วยเรื่องการแสดงผลให้สว่างมากขึ้น คอนทราสต์ที่คมชัดและมีสีสันมากขึ้น และที่สำคัญคือประหยัดพลังงานมากขึ้นราว 35% ช่วยอนุรักษ์ลดการปล่อยความร้อนให้กับสิ่งแวดล้อมไปในตัว

Blognone Jobs Premium